วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

หมายเลข บนบัตรประชาชนไทยทั้ง 13 หลัก คืออะไรบ้าง

อยากรู้มั้ย ว่าแต่ละตำแหน่งหมายถึงอะไร ค้นหาคำตอบได้ที่นี่

        13 เลขนี้ มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นการสำแดงตัวตน “ความเป็นคนไทยหรือคนในประเทศไทย” ที่ทำให้เราสามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทย และใช้สิทธิอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้

         เลขประจำตัวประชาชนในบัตรประชาชน หรือที่เดี๋ยวนี้เรียก สมาร์ทการ์ด ที่มีด้วยกัน 13 หลัก และแต่ละหลักก็มิใช่แค่เป็นเพียงจำนวนนับ ธรรมดาๆ แต่มีความหมายแฝงอยู่ด้วย ซึ่งกลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ขอนำมาเสนอเพื่อเป็นความรู้ ดังนี้

        สมมุติว่า เลขบัตรประชาชนของเราเขียนไว้ว่า 1 1001 01245 29 9  (เขียนเว้นวรรค ตามแบบ) แต่ละหลักก็จะมีความหมายดังนี้

หลักที่ 1 (คือหมายเลข 1 ในตัวอย่าง) จะหมายถึง ประเภทบุคคล ซึ่งมีอยู่ 8 ประเภทได้แก่

ประเภทที่ 1 คือ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย และได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2527 เป็นต้นไป อันเป็นวันเริ่มแรกที่เขาประกาศให้ประชาชนทุกคน ต้องมีเลขประจำตัว 13 หลัก เมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองไปแจ้งเกิดที่อำเภอ หรือสำนักทะเบียนในเขตที่อยู่ภายใน 15 วันนับแต่เกิดมา ตามที่กฎหมายกำหนด เด็กคนนั้นก็ถือเป็นบุคคลประเภท 1 และจะมีเลขประจำตัวขึ้นด้วยเลข 1 เช่น เด็กหญิงส้มจี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2527 และพ่อไปแจ้งเกิดที่เขตดุสิตภายในวันที่ 17 มกราคม 2527 เด็กหญิงส้มจี๊ด ก็จะมีหมายเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 1 และก็ต่อด้วยเลขหลักอื่นๆ อีก 12 ตัว เป็น 1 1001 01245 29 9 เป็นต้น ซึ่งเลขนี้จะปรากฏในทะเบียนบ้าน และจะเป็นเลขประจำตัว เมื่อส้มจี๊ดไปทำบัตรประชาชนตอนอายุ 15 ปี

ประเภทที่ 2 คือ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย ได้แจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป แล้วบังเอิญว่าพ่อแม่ผู้ปกครองลืมหรือติดธุระ ทำให้ไม่สามารถไปแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตภายใน 15 วันตามกฎหมายกำหนด เมื่อไปแจ้งภายหลัง เด็กคนนั้นก็จะกลายเป็นบุคคลประเภท 2 และจะมีเลขตัวแรกในทะเบียนบ้านขึ้นด้วยเลข 2 ทันที เช่น ในกรณีส้มจี๊ด หากพ่อไปแจ้งเกิดให้ ในวันที่ 18 มกราคม 2527 หรือเกินกว่านั้น ส้มจี๊ดก็จะมีเลขประจำตัวเป็น 2 1001 01245 29 9 ในทะเบียนบ้าน และเมื่อไปทำบัตรประชาชนในภายหน้า

ประเภทที่ 3 คือ คนไทยและคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในสมัยเริ่มแรก (คือตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม 2527) หมายความว่า บุคคลใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นคนไทย หรือคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ณ ที่ใดที่หนึ่งในประเทศไทย มาตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 คนนั้นถือว่าเป็นบุคคลประเภท 3 และก็จะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 3 เช่น ส้มจี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2501 และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแล้ว ส้มจี๊ดก็จะมีเลขประจำตัวในทะเบียนบ้าน และบัตรประชาชนเป็น 3 1001 01245 29 9

ประเภทที่ 4 คือ คนไทยและคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญคนต่างด้าวแต่แจ้งย้ายเข้า โดยยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ในสมัยเริ่มแรก หมายความว่า คนไทยหรือคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว ที่อาจจะเป็นบุคคลประเภท 3 คือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดิมอยู่แล้ว แต่ยังไม่ทันได้เลขประจำตัว ก็ขอย้ายบ้านไปเขตหรืออำเภออื่น ก่อนช่วงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ก็จะเป็นบุคคลประเภท 4 ทันที เช่น ส้มจี๊ดมีชื่ออยู่ในสำนักทะเบียนเขตคลองสาน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2527 ส้มจี๊ดก็ขอย้ายบ้านไปเขตดุสิต โดยที่ส้มจี๊ดยังไม่ทันได้เลขประจำตัวจากเขตคลองสาน พอแจ้งย้ายเข้าเขตดุสิต ส้มจี๊ดก็จะกลายเป็นบุคคลประเภท 4 มีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วย 4 กลายเป็น 4 1001 01245 29 9 ทันที แต่ถ้าส้มจี๊ดย้ายจากเขตคลองสานเดิม ไปเขตดุสิต หลังวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 ส้มจี๊ดก็ยังเป็นบุคคลประเภท 3 อยู่ เพราะถือว่าจะได้เลขประจำตัวจากเขตคลองสานแล้ว จะย้ายอย่างไรก็ไม่เปลี่ยนแปลง

        การกำหนดให้บุคคลเริ่มมีเลขประจำตัว 13 หลักในทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2527 เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 อันเป็นวันสุดท้าย ของการดำเนินการให้ประชาชน ที่ไม่มีเลขประจำตัวในบัตรหรือทะเบียนบ้าน ได้มีเลขประจำตัวจนครบแล้วนั้น ก็เพราะก่อนหน้านี้ ประเทศไทยยังไม่เคยมีการกำหนดเลขประจำตัวดังกล่าวมาก่อนเลย ดังนั้น ช่วงที่ว่าจึงเป็นระยะเวลาจัดระบบให้เข้าที่เข้าทาง เพราะหลังจากวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 แล้ว ทุกคนจะต้องมีเลขประจำตัวเพื่อสำแดงตนว่า เป็นบุคคลประเภทใด โดยดูตามเงื่อนไขในแต่ละกรณี ซึ่งมีอีก 4 ประเภท คือ

ประเภทที่ 5 คือ คนไทยที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อ เข้าไปในทะเบียนบ้านในกรณีตกสำรวจ หรือกรณีอื่นๆ เช่น ส้มจี๊ดมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเขตดุสิตอยู่แล้ว แต่บังเอิญว่าตอนที่มีการสำรวจรายชื่อผู้อยู่ในบ้าน เกิดความผิดพลาดทางเทคนิค ทำให้ชื่อของส้มจี๊ดหายไปจากทะเบียนบ้าน เมื่อไปแจ้งเจ้าหน้าที่และตรวจสอบแล้วว่าตกสำรวจจริง หรือจะเป็นเพราะกรณีอื่นใดก็ตาม เจ้าหน้าที่ก็จะเพิ่มชื่อให้ แต่ส้มจี๊ดก็จะมีหมายเลขในทะเบียนบ้านเป็นบุคคลประเภท 5 และบัตรประชาชนจะขึ้นต้นด้วยเลข 5 ทันที คือ กลายเป็น 5 1001 01245 29 9

ประเภทที่ 6 คือ ผู้ที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว กล่าวคือ คนที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทย แต่ยังไม่ได้สัญชาติไทย เพราะทางการยังไม่รับรองทางกฎหมาย เช่น ชนกลุ่มน้อยตามชายแดน หรือชาวเขา กลุ่มนี้ถือว่าเป็นผู้เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนบุคคลที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ชั่วคราว เช่น นักท่องเที่ยวหรือชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย แม้บางคนจะถือพาสปอร์ตประเทศของตน แต่อาจจะมีสามีหรือภริยาคนไทย จึงไปขอทำทะเบียนประวัติ เพื่อให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านสามีหรือภริยา คนทั้งสองแบบที่ว่า ถือว่าเป็นบุคคลประเภท 6 เลขประจำตัวในบัตรจะขึ้นต้นด้วยเลข 6 เช่น 6 1012 23458 12

ประเภทที่ 7 คือ บุตรของบุคคลประเภทที่ 6 ซึ่งเกิดในประเทศไทย คนกลุ่มนี้ในทะเบียนประวัติจะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 7 เช่น 7 1012 2345 133

ประเภทที่ 8 คือ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย คือ ผู้ที่ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือคนที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย และคนที่ได้รับการให้สัญชาติไทย ตั้งแต่หลังวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 เป็นต้นไปจนปัจจุบัน คนกลุ่มนี้เลขในทะเบียนประวัติจะขึ้นด้วยเลข 8 เช่น 8 1018 01234 24 7

        คนทั้ง 8 ประเภทนี้ จะมีเพียงประเภทที่ 3, 4 และ 5 เท่านั้น ที่จะมีบัตรประชาชนได้เลย ส่วนประเภทที่ 1 และ 2 จะมีบัตรประชาชนได้ ก็ต่อเมื่อมีอายุถึงเกณฑ์ทำบัตรประจำตัวประชาชน คืออายุ 15 ปี แต่สำหรับบุคคลประเภทที่ 6, 7 และ 8 จะมีเพียงทะเบียนประวัติเล่มสีเหลืองเท่านั้น จะไม่มีการออกบัตรประชาชนให้

        ต่อไปคือ หลักที่ 2 ถึงหลักที่ 5 (เลข 1001 ในตัวอย่างหรือสี่ตัวถัดไปจากตัวแรก) จะหมายถึง รหัสของสำนักทะเบียน หรืออำเภอที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนขณะที่ให้เลข ซึ่งก็หมายถึงถิ่นที่อยู่ของเรานั่นเอง กล่าวคือ เลขหลักที่ 2 และ 3 จะหมายถึงจังหวัดที่อยู่ ส่วนหลักที่ 4 และ 5 หมายถึงเขตหรืออำเภอในจังหวัดนั้นๆ เช่น ถ้าเขียนว่า 1001 ก็หมายถึงว่า คุณอาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯ ในเขตดุสิต เพราะ 10๐ ในหลักที่ 2 และ 3 หมายถึงกรุงเทพมหานคร ส่วนเลข 01 ในหลักที่ 4 และ 5 คือรหัสของสำนักทะเบียนเขตดุสิต หรือถ้าเขียนว่า 1101 ก็จะหมายถึง อยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอเมือง เพราะ 11 แรกคือ รหัสจังหวัดสมุทรปราการ และ 01 หลัง คือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ เป็นต้น

        สำหรับ หลักที่ 6 ถึงหลักที่ 10 (เลข 01245 ในตัวอย่าง) จะหมายถึง กลุ่มที่ของบุคคลแต่ละประเภท ตามหลักแรก (หลักที่ 1) ซึ่งทางสำนักทะเบียนในแต่ละแห่ง ก็จะจัดกลุ่มเรียงไปตามลำดับ หรือหากเป็นเด็กเกิดใหม่ในปัจจุบัน เลขดังกล่าวก็จะหมายถึง เล่มที่ของสูติบัตร (ใบแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตออกให้) ซึ่งก็คือเลขประจำตัวในทะเบียนบ้านของเด็กที่แต่ละอำเภอหรือเขตออกให้ และจะไปปรากฎในบัตรประชาชน เมื่อถึงอายุต้องทำบัตรนั่นเอง แต่ถ้ายังไม่ถึงเกณฑ์เลขนี้ ก็จะปรากฏอยู่แค่ในทะเบียนบ้านของเด็กเท่านั้น

        หลักที่ 11 และ 12 (หมายเลข 29 ในตัวอย่างสมมุติ) จะหมายถึง ลำดับที่ของบุคคลในแต่ละกลุ่มประเภท เป็นการจัดลำดับว่าเราเป็นคนที่เท่าไรในกลุ่มของบุคคลประเภทนั้นๆ

        หลักที่ 13 (เลข 9 ตัวสุดท้ายในตัวอย่าง) จะหมายถึง ตัวเลขสำหรับตรวจสอบความถูกต้องของเลขทั้ง 12 หลักแรกอีกที

        สำหรับเลขตั้งแต่หลักที่ 6 ถึง 13 นี้เป็นการจัดหมวดหมู่ และเรียงลำดับบุคคลในแต่ละประเภทของสำนักทะเบียนในแต่ละท้องที่ ซึ่งเราก็คงไม่ต้องรู้รายละเอียดอะไรลึกไปกว่านี้ เพราะรู้แล้วอาจจะงงเปล่าๆ

        เป็นเรื่องน่าแปลกว่า ตัวเลข 13 หลักที่เป็นหมายเลขในบัตรประชาชน หรือเลขประจำตัวประชาชนของเราแต่ละคนนี้ จะไม่มีการซ้ำกันเลย ผิดกับชื่อหรือนามสกุล ยังมีซ้ำกันได้ และจะเป็นเลขประจำตัวเราจนตาย ไม่มีการเปลี่ยน หรือยกให้คนอื่น และจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ว่า ในอนาคตจะต้องมีการเติมเลข อย่างเลข 8 เข้าไปอีก เพราะเลขไม่พอใช้เหมือนโทรศัพท์มือถือหรือไม่ เขาก็บอกว่าคงอีกนาน อาจจะถึง 100 ปีโน่น เพราะการที่เขาแยกแยะบุคคลเป็นประเภทต่างๆ และยังแยกย่อยเป็นจังหวัดอำเภอ แล้วลงรายละเอียดไปเป็นกลุ่มๆในแต่ละประเภทอีกนั้น ทำให้เพดานหรือช่วงตัวเลขมีความห่างมาก จนสามารถรองรับจำนวนคนได้อีกมาก และหากใครสงสัย หรือมีปัญหาในเรื่องทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส บัตรประชาชน ก็สามารถสอบถามไปได้ที่ สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง โทร. 1548

        ตัวเลข 13 หลักที่กล่าวข้างต้น  เป็นเลขประจำตัวประชาชนของแต่ละคนนี้ แม้จะมิใช่ตัวเลขที่เราต้องใช้เป็นประจำในชีวิตประจำวัน ยกเว้นใช้ในการกรอกเอกสารบางอย่าง เช่น การเปิดบัญชีธนาคาร ฯลฯ แต่เลขนี้ก็มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นการสำแดงตัวตน “ความเป็นคนไทยหรือคนในประเทศไทย” ที่ทำให้เราสามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทย และใช้สิทธิอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้

ขอขอบคุณข้อมูลข่าว :
อมรรัตน์ เทพกำปนาท สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

บนนาฬิกาตัวเลขโรมัน ทำไมใช้ IIII แทนที่จะเป็น IV


 เพราะมีเรื่องเล่ากันว่า....
เมื่อนาฬิกาที่ใช้กลไกเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยศตวรรษที่ ๑๔ มักจะถูกจัดวางไว้ในที่สาธารณะ โดยเฉพาะบนยอดโบสถ์  ในระยะแรกเริ่มหน้าปัดนาัฬิกามีไว้เพื่อความสวยงามเท่านั้น ไม่ได้ช่วยบอกเวลาแต่อย่างใด เนื่องจากนาฬิการุ่นแรก ๆ ไม่มีเข็มบอกชั่วโมงและนาทีเลย  ผู้คนจะทราบเวลาได้จากเสียงเหง่งหง่างที่ดังขึ้นทุกชั่วโมงของวัน
          ดังนั้นนาฬิกาจึงยังประโยชน์อย่างมากแก่ชาวบ้านซึ่งแทบไม่รู้หนังสือเอาเลย ชาวไร่ชาวนา แม้แต่ในอิตาลีเองก็อ่านเลขโรมันไม่ออก และไม่รู้วิธีลบเลข พวกเขาคิดคำนวณ และบอกเวลาด้วยการนับนิ้วมือ ด้วยเหตุนี้เครื่องหมายสี่ขีดจึงง่ายต่อพวกเขามากกว่า IV ซึ่งต้องลบหนึ่งจากห้า
          ทำไมช่างทำนาฬิกาในสมัยปัจจุบัน (ซึ่งส่วนใหญ่มีการศึกษาแล้ว)  ยังคงใช้เลขโรมัน  เหตุผลหนึ่งก็คือ เลขโรมันให้ความรู้สึกถึง “ความโบราณ” ซึ่งผู้ซื้อนาฬิกาพอใจมากบางคนให้เหตุผลต่างออกไปว่า เลขโรมันอ่านง่ายกว่า แม้เมื่อกลับหัวกลับหาง และอ่านจากระยะไกล อย่างไรก็ตามความขลังของความเก่าแก่  ความมีระดับ  ยังคงเป็นจุดขายที่สำคัญที่สุดของนาฬิกาเลขโรมัน
         ที่ตลกก็คือ “ความมีระดับ” ที่ว่านี้ แรกออกแบบขึ้นเพื่อชาวไร่ชาวนา-คนระดับล่างสุดของสังคมนั่นเอง
“ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี” 

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

พระอิศวรเป็นบิดาของหนุมาน

เรื่องนี้ไม่ได้ตั้งใจจะลบหลู่ศักดิ์ศรีทหารกล้าของพระราม (นาม หนุมาน ชาญสมร) ส่วนหนึ่งก็เพราะว่า อันตัวของเราเองก็ชอบใจในหนุมานมาตั้งแต่ยังเด็ก 

แต่เผอิญไปอ่านบทความที่เขียนถึงตำนานการเกิดของรามเกียรติ์ในแต่ละภาค (ท้องถิ่น) เข้า ซึ่งอ่านแล้วก็น่าสนใจดี เลยเอามาฝากกัน

เรื่องนี้อาจจะได้รับอิทธิพลจากเทพปกรณัมอินเดีย ทำให้เกิดมุมมองความคิดว่า เออ อันวิชาการความรู้ หรือเรื่องราวต่างๆ นี้มันก็แตกแขนง งอกกิ่งก้านออกไป ดังนี้ เราจะมามัวยึดถือ ค่าความเชื่อ ความรู้เดิมๆ  ก็คงจะไม่เกิดการพัฒนาแน่แท้ สำหรับเรื่องนี้อ่านเล่นๆ สนุกดี แต่คงไม่เหมาะถ้าจะเอามานั่งเถียงกัน

จากเดิมเคยรู้ เคยเรียนมาว่า พ่อของหนุมาน คือ พระพาย เพราะพระพายเป็นผู้นำเอา อาวุธยุทธโธปกรณ์ของพระศิวะ หรือพระอิศวรมาใส่ปากนางสวาหะ (ที่ถูกสาบให้ยืนขาเดียว มือเกี่ยวกินลม จวบจนเมื่อใดมีลูกถึงจะพ้นจากคำสาป) แต่เมื่อเรียน อ่าน เข้าไปเรื่อยๆ จึงพบว่า แท้จริงแล้ว พระพายเป็นเพียงหมอทำกิ๊ฟให้นางสวาหะ ด้วยอาวุธยุทธโธปกรณ์เหล่านั้นแท้จริงแล้วคือ น้ำเชื้อของพระอิศวรนั่นเอง ดังเรื่องราวย่อๆ ต่อไปนี้


มียักษ์ตนหนึ่งชื่อ เภชนาสูร (นนทก) เป็นข้าของพระอิศวรทำหน้าที่ล้างเท้าเทวดา แต่

เหล่าเทวดาพากันเยาะเย้ยต่าง ๆ นานาเมื่อ เภชนาสูร (นนทก) ล้างเท้าให้นอกจากนั้น ยังชอบที่จะเอาเขกหัว และดึงผมของเภชนาสูร (นนทก) เล่นอยู่เป็นประจำ จนเภชนาสูร (นนทก) กลายเป็นยักษ์หัวล้าน เรื่องนี้ 

เภชนาสูร (นนทก) 



โกรธมากจึงขอนิ้วเพชรจากพระอิศวร แล้วใช้นิ้ว



เพชรชี้เทวดาสิ้นชีพลงมากมาย 






พระอิศวรจึงให้พระนารายณ์ไปปราบเภชนาสูร พระนารายณ์จึงแปลง


เป็นนางฟ้าหลอกล่อ ให้เภชนาสูรรำตาม เภชนาสูรก็รำตามนางด้วยความหลงใหลจนถึงแก่ความตาย 





เพราะเอานิ้วชี้ตัวเองตามท่ารำ



















ก่อนตาย 
เภชนาสูร (นนทก) ร้องบอกพระนารายณ์ไม่แฟร์ เพราะเป็นถึงเทพผู้ยิ่งใหญ่ ยังแอบแปลงร่างมาหลอกตนอีก 





พระนารายณ์โกทธจัด จึงร้องบอก "อ้ายยักษ์ หัวล้าน ให้ชาติหน้าเอ็งไปเกิดเป็น จอมยักษ์ จอมอสูรมีฤทธิ์ มากมายให้ลือลั่นไป 3 โลก เลย ตัวข้า นี่จะอวตาร ไปเกิดเป็นมนุษย์ธรรมดา มีสองมือไปฆ่าเอ็งเอง" นั่นจึงเป็นจุดกำเนิดของ 
รามเกียรติ์ ขึ้นมานั่นเอง...


      ฝ่ายพระนารายณ์แปลงเมื่อปราบเภชนาสูรได้แล้วก็ไปเฝ้าพระอิศวร เมื่อ 
พระอิศวรเห็นนางรำแปลงก็หลงรูปนางจนเกิดตัณหามีน้ำกามไหลออกมา ก็ตามธรรมดา ที่ระดับจอมเทพ แล้ว จะให้เหมือนเทพกิ๊กก๊อก ได้อย่างไร น้ำกามของพระอิศวร หากตกลงน้ำทะเล ก็จะเหือดแห้ง หากตกลงพื้นโลกก็จะลุกเป็นไฟ 





ดังนั้น 
พระนารายณ์จึง
เอาหัตถ์ไป 
รับน้ำกามไว้ แล้วฝากพระพายไปเข้าครรภ์นางสวาหะ นางสวาหะคลอดลูกออกมาชื่อ ศรีหนุมาน


เพื่อเป็นกองสนับสนุนตอนที่พระองค์อวตารลงมาสู้กับ 
เภชนาสูร (นนทก) ในตอนต่อไปนั้นเอง




ดัง กาพย์ฉบัง 16 ตอนกำเนิดหนุมาน มีดังนี้




นารายณ์ขึ้นมาบ่นาน      ทั้งรูปนงคราญ

ไปสำนักอิศวรรา


พระอิศวรเห็นรูปฉายา      เกิดความตัณหา
พินทุก์ตกช้านาน

นารายณ์จึงมีโองการ      พินทุภูบาล
จักมาให้สูญเสียดาย

พระหัตถ์มารับโดยหมาย      ฝากแต่พระพาย
ให้เข้าในครรภ์เทวี

สวาหะอยู่จอมคีรี      พินทุอิศวรรี
ให้เข้าในครรภ์กัลยา
(รามเกียรติ์วัดควนเกย : 189)





นางสวาหะแนะนำให้หนุมานไปหาพาลีและสุครีพ หนุมานถามชื่อพ่อของตน นางสวาหะบอกว่า ใครสามารถมองเห็นมงกุฎ กุณฑลในกายหนุมานได้คนนั้นคือบิดา




กล่าวถึงพระรามได้ตามนางสีดาจนพบพระยาครุฑ จึงได้ทราบข่าวนาง
พร้อมทั้งได้แหวนของนางที่พระยาครุฑมอบให้ พระรามเดินทางไปพบพระพรหมฤๅษี พระฤๅษีจึง
ชุบนางงามถวายพระรามคนหนึ่ง พระรามได้มอบกำไลให้นางเป็นที่ระลึก

พระราม และพระลักษณ์ เดินทางไปถึงต้นไทรใหญ่ได้พบกับหนุมาน
หนุมานคิดว่าพระรามเป็นบิดาจึงถวายตัวแก่พระราม


ประวัติรามเกียรติ์ฉบับนี้มาจากทางภาคใต้ วัดควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยนางพรรณี รัตนวิโรจน์ นิสิตวิชาเอกภาษาไทย ปีการศึกษา 2520 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา เป็นผู้นำมอบให้ศูนย์ส่งเสริมภาษา และวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา

ลักษณะต้นฉบับ เป็นสมุดข่อยประเภท “บุดขาว” ต้นฉบับไม่สมบูรณ์ ตอนต้น
และตอนท้ายขาดหายไป ข้อความบางตอนลบเลือนไม่สามารถอ่านได้ ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง และสมัยที่แต่ง


ลักษณะของเนื้อเรื่องใกล้เคียงกับรามเกียรติ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมาก ต่างกันใน
บางเหตุการณ์ เช่น ในฉบับวัดควนเกยมีการกล่าวถึงตำราไปลงกา ในขณะที่รามเกียรติ์
พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมิได้กล่าวไว้


นอกจากนั้นยังมีชื่อตัวละคร
ที่แตกต่างกัน เช่น นนทุก เป็น เภชนาสูร นางสวาหะ เป็น นางแก่นจันทน์ เป็นต้น

http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/snamcn/Phatchalin_Jeennoon/Chapter2.pdf
*** ขออภัยที่ไม่สามารถระบุลิงค์เจ้าของภาพได้

เหตุการณ์บ้านเมือง, วรรณคดี และการรับอิทธิพลจากต่างชาติ



ช่วงนี้พอมีเวลาได้เข้าไปอ่านโน้น อ่านนี้ อยู่บ้าง 

เทียบกับแต่ก่อนที่แทบจะไม่มีเวลาเลย

เพราะถึงแม้แต่มีเวลา แต่ถ้าอ่านแล้วมันไม่เข้า (เต็มแก้ว) ก็ไร้ประโยชน์ ถ้าสักแต่ว่าผ่านตา
แต่หาได้จดจำ หรือได้สาระ ใดไม่ ก็เลือกที่จะไม่อ่านดีกว่า

พอดีไปเจอบทความของน้องสองคนนี้เค้าเข้า ซึ่งก็น่าสนใจดีเลยเก็บเอามาฝากกัน สำหรับคนชอบอ่านแนวเดียวกัน หรืออีกส่วนหนึ่งก็คิดว่า เอาไว้อ่านเอง เพลินๆ  เวลามีเวลาว่าง 

ส่วนถ้าจะให้เขียนเองนั้น คงจะต้องมีเวลาเป็นจริง เป็นจังมากกว่านี้ หรือไม่ก็คงจะต้องใช้ สมาธิ บวกกับองค์ความรู้ต่างๆ ก็ต้องสะสมให้มากขึ้นกว่านี้ สำหรับน้องสองคนที่ว่า นี้
เค้าชื่อ 

นางสาวเพ็ญสุภา    คนึงสุขเกษม  ม.6/3 เลขที่ 32, 

นางสาวสุภาพร    พรมโพธิน ม.6/3 เลขที่ 39 
(แต่ไม่รู้ว่าอยู่โรงเรียนอะไร) 
เข้าใจว่าจะเป็นรายงานส่งอาจารย์ แต่อ่านแล้วได้ความรู้ดีครับ เรื่องราวจะกล่าวถึง เหตุใดที่ไทยเรามีผลงานด้านวรรณกรรม ที่อ้างอิงถึงอิทธิพลจากต่างชาติ โดยเฉพาะอินเดีย จวบจนชาติฝั่งตะวันตก สำหรับรายละเอียดมีดังนี้ครับ...


เหตุการณ์บ้านเมืองและวรรณคดี

                  การติดต่อและการรับอิทธิพลตะวันตก   ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและวัฒนธรรมบางประการ  เช่น  การปรับปรุงการปกครองบ้านเมือง  การจัดการศึกษา  การแปลงวรรณกรรมตะวันตก  การมีสื่อสารมวลชน  ฯลฯ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงด้านวรรณกรรมทำให้วรรณกรรมมีลักษณะเป็นสากลมากขึ้นตามลำดับเวลาเห็นได้ชัดตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕  และรัชกาลที่ ๖  เป็นต้นมา 
                  ภายหลังรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  คือ  ตั้งแต่ พ.๒๔๖๘  จนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลาที่สังคม  บุคคล  และวรรณกรรมอยู่ร่วมสมัยกันในกาลปัจจุบัน  มีความเคลื่อนไหวสอดคล้องกันตามความเป็นไปของชีวิต  วรรณกรรมแสดงสภาพของสังคมปัจจุบัน  มีความเคลื่อนไหวสอดคล้องกันตามความเป็นไปของชีวิต  วรรณกรรมแสดงสภาพของสังคมปัจจุบัน  และสังคมปัจจุบันมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์วรรณกรรม   วรรณกรรมส่วนใหญ่ในระยะเวลานี้  จึงเขียนขึ้นโดยใช้ประเภทและรูปแบบที่เป็นสากล  แสดงความคิด  ความรู้สึก  และใช้ถ้อยคำสำนวนถ่ายทอดชีวิต  รวมทั้งนักเขียนและผู้อ่านก็มีชีวิตอยู่ในระยะเวลาใกล้เคียงกับสมัยปัจจุบัน  ลักษณะสำคัญเหล่านี้ประมวลกันเข้า  ไม่จำเป็นต้องครบถ้วนทุกประการ  ก็อาจเรียกวรรณกรรมสมัยนี้ได้ว่า  "วรรณกรรมปัจจุบัน"

เหตุการณ์บ้านเมือง
                  เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จสวรรคตใน พ.๒๔๖๘  สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์  กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา  ได้ขึ้นเสวยราชย์สืบต่อมา   ทรงพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระเกล้าเจ้าอยู่หัว   นับเป็นพระองค์ที่ ๗  แห่งราชวงศ์จักรี   เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายของการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  เพราะได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร์ใน พ..๒๔๗  ตั้งแต่นั้นมาการปกครองของประเทศก็ได้เปลี่ยนเป็นระบอบประชาธิปไตย  โดยมีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้กฎหมาย
                  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงสละราชสมบัติ  เมื่อวันที่    มีนาคม  .๒๔๗๗  และได้ประทัยอยู่ในประเทศอังกฤษ  จนกระทั่งเสด็จสวรรคต  เมื่อวันที่  ๓๐ พฤษภาคม  .๒๔๘๔  พระชนมายุได้  ๔๘  พรรษา
                  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ  ไม่มีพระราชโอรสหรือพระราชธิดา  ดังนั้นคณะรัฐมนตรี  และสภาผู้แทนราษฎรเห็นสมควรกราบบังคมทูลเชิญ  พระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าอานันทมหิดล  พระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์ขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๘  แห่งราชวงศ์จักรี  ทรงพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล  ในขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง  ๑๐  พรรษา  ทรงศึกษาอยู่   ประเทศสวิตเซอร์แลนด์  รัฐบาลจึงต้องแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขึ้น
                  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล  เสด็จนิวัติพระนครในเดือนธันวาคม  พศ๒๔๘๘ และขณะที่เตรียมพระองค์เพื่อเสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อนั้นเอง  เสด็จสวรรคตเพราะถูกพระแสงปืน  เมื่อวันที่   มิถุนายน  .๒๔๘๙  พระชนมายุได้  ๒๑  พรรษาเศษ  และอยู่ในราชสมบัติได้  ๑๒  ปี
                  รัฐสภาได้มีมติให้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ  เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี  ทรงพระนามว่า  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิอดุลยเดช  ตั้งแต่ พ..๒๔๘๙  จนถึงปัจจุบันนี้
                  ความเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยมีเป็นอันมากในระหว่างเวลาประมาณ    ทศวรรษ  นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยมาจนถึง  .๒๔๒๖  เช่น  สงครามโลกครั้งที่สองระหว่าง  .๒๔๘๒๒๔๘๘  ก็ได้มีผลกระทบถึงประเทศไทยหลายประการ  นอกจากนี้ด้านการปกครอง การเมือง  การเศรษฐกิจ  การศึกษา  ความสัมพันธ์กับนานาประเทศ  และจำนวนประชากร  ล้วนเป็นเหตุให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตของคนไทย  และสังคมไทยในปัจจุบันทั้งสิ้น

มูลเหตุที่ทำให้วรรณกรรมไทยหลังรัชกาลที่ ๖  มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลง
                  .  อุดมการณ์ทางการเมือง  เมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๖  เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก  และมีผลกระทบต่อประเทศไทยเป็นอันมาก  ทำให้บุคคลส่วนหนึ่งซึ่งนิยมการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามแนวตะวันตกเห็นว่าการแก้ไขวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจจะทำได้สำเร็จต้องนำระบอบประชาธิปไตยมาใช้ปกครองประเทศ
                        ในช่วงนั้นจึงเกิดวรรณกรรมเน้นคงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปกครอง  เศรษฐกิจและสังคม  ซึ่งเป็นแนวเขียนตามแบบตะวันตก
                  .  การศึกษา  นับแต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาทำให้การศึกษาระบบโรงเรียนตามแนวตะวันตกแพร่หลายไปทั่วประเทศ  และเมื่อประเทศไทยเปลี่ยนการปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตยแล้ว  ก็มีการเร่งรัดขยายและยกระดับการศึกษาอย่างกว้างขวาง  มีการสอนวิชาอักษรศาสตร์  วิชาการหนังสือพิมพ์และการสื่อสารมวลชนถึงขั้นอุดมศึกษา  มีการไปศึกษาวิชาการต่อ    ต่างประเทศ  เมื่อมาตรฐานการศึกษาของประชาชนสูงขึ้น  ความเจริญก้าวหน้าในการแต่งหนังสือทุกประเทศ เพื่อสนองความต้องการของประชาชนก็เจริญก้าวหน้าตามไปด้วย
                  .  สำนักวัฒนธรรมทางวรรณกรรม  ได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดตั้งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติเมื่อ พ..๒๔๘๕  มีสำนักวัฒนธรรมทางวรรณกรรมทำหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่วรรณกรรม
                  .  การแสดงละครบนเวที  ละครวิทยุ  และโทรทัศน์และภาพยนตร์    ได้นำนวนิยายและเรื่องสั้นมาแปลงเป็นบทละคร  บทละครวิทยุ  และบทละครโทรทัศน์และบทภาพยนตร์อย่างแพร่หลาย
                  .  หนังสือพิมพ์และวารสาร   ช่วยส่งเสริมและเผยแพร่วรรณกรรมประเภทต่าง ๆ  เป็นอันมาก เช่น  บทความ  นวนิยาย  เรื่องสั้นและสารคดี  วรรณกรรมที่มีชื่อเสียง  มักลงพิมพ์เป็นตอน ๆ  ในหนังสือพิมพ์รายวันหรือวารสารมาก่อนพิมพ์เป็นเล่มแทบทั้งสิ้น
                  .  การประกวดวรรณกรรม  การที่หน่วยงานของรัฐบาล  องค์การระหว่างชาติและองค์การเอกชนจัดประกวดให้รางวัลสำหรับวรรณกรรมดีเด่นมีส่วนส่งเสริมวรรณกรรมให้มีมาตรฐานสูงขึ้นและแพร่งหลายไปสู่มวลชนมากขึ้น

ความเคลื่อนไหวด้านวรรณคดี
                  .  วรรณคดีประเภทร้อยแก้ว
                        การเขียนความเรียงของไทย  ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า  ร้อยแก้ว  มีมาแต่เดิม  ดังปรากฎในจารึกสมัยสุโขทัยแต่ไม่ใช่เรื่องอ่านเพื่อความบันเทิงอารมณ์  ร้อยแก้วจึงใช้ในการบันทึกเรื่องราวอันเป็นหลักฐานสำหรับบ้านเมือง  เช่น  พงศาวดาร  คัมภีร์ศาสนา  กฎหมาย  ตำรา  หรือนิทาน  ซึ่งตั้งใจให้เป็นประโยชน์ด้านคติธรรม
                        วรรณคดีร้อยแก้วที่เจตนาให้อ่านเพื่อความบันเทิงใจและบำรุงสติปัญญา  เริ่มมีในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ  โปรดให้แปลเรื่องสามก๊ก  ราชาธิราชขึ้น นับแต่นั้นมาความนิยมวรรณคดีประเภทร้อยแก้วก็เจริญมาโดยลำดับ  จนถึงปัจจุบันนี้ปรากฏชัดว่ามีการแต่งร้อยแก้วมากกว่าร้อยกรอง  และอาจจำแนกร้อยแก้วได้เป็น ๒ ประเภท  คือ
                        สารคดี  คือ  เรื่องซึ่งมีเนื้อหาสาระที่จะให้ความรู้  ความคิดข้อเท็จจริงต่าง ๆ  ซึ่งอ้างหลักฐานและที่มาได้  หรือถ้ากล่าวอ้างถึงทฤษฎีหรือหลักการใด   ทฤษฏีและหลักการนั้นก็เป็นความจริงและมีจริง
                        แยกประเภทของสารคดีได้ดังนี้
                        )  สารคดีเชิงวิชาการ
                        )  บทความต่าง ๆ
                        )  ชีวประวัติ
                        )  การท่องเที่ยว
                        นอกจาก    ประเภทนี้แล้ว  สารคดียังอาจเป็น  จดหมายเหตุ  ความทรงจำ  บันทึก  อนุทิน จดหมายโต้ตอบทางวิชาการ  บทวิจารณ์  บทสัมภาษณ์  และบทปาฐกถา  ฯลฯ
                        บันเทิงคดี  หมายถึง  เรื่องที่แต่งขึ้นโดยอาศัยเค้าความจริงของสังคมและชีวิต  หรือแต่งขึ้นจากจินตนาการก็ได้  บันเทิงคดีร้อยแก้วอาจมีรูปแบบเป็น
                        )  นิทานหรือนิยาย
                        )  นวนิยาย
                        )  เรื่องสั้น
                        รูปแบบของบันเทิงคดีเจริญเต็มที่แล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖  ความจริงของบันเทิงคดี  ปรากฏชัดในด้านต่อไปนี้
                        )  การผูกเรื่อง  ให้มีความคิดสำคัญเกี่ยวกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมของมนุษย์
                        )  กลวิธีในการแต่ง  หรือกลวิธีในการเสนอเรื่อง
                        )  ท่วงทำนองในการแต่ง
                        )  วรรณกรรมแปลจากภาษาต่าง ๆ 

                  .  วรรณคดีประเภทร้อยกรอง
                        ร้อยกรองเจริญอย่างยิ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ  มีวรรณคดีร้อยกรองขนาดยาวและขนาดสั้นเป็นจำนวนมาก  มีฉันทลักษณ์ต่าง ๆ  กัน  มีเนื้อหาสาระกว้างขวางหลายแนว  มีอรรถรส  มีคุณค่า
                        ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับวรรณคดีร้อยกรองปัจจุบัน
                        )  บทร้อยกรองจะเน้น "ความคิด"  หรือ "ข้อคิดอย่างใดอย่างหนึ่งเป็น "สารที่ผู้แต่งสื่อมายังผู้อ่าน
                        )  ขนาดของบทประพันธ์ร้อยกรอง  สั้นลง
                        )  ความเคร่งครัดด้านฉันทลักษณ์ซึ่งเคยนิยมลดน้อยลง
                        )  เนื้อหาขยายออกกว้างขวาง  อาจเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดจริง
                        )  ถ้อยคำสำนวนที่สรรใช้ของนักเขียนบางคนกร้าวแกร่ง  เสียดสีสังคม 

                  .  วรรณคดีประเภทบทละครแบบตะวันตก
                        เราเริ่มรับละครตะวันตกหรือแบบปัจจุบันตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ  ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ  การละครแบบตะวันตกเจริญมาก   มีบทละครที่แต่งขึ้นในรัชสมัยนั้นเป็นจำนวนมาก
                        ละครตะวันตกมีเจตจำนงที่จะถ่ายทอดชีวิตจริงไปแสดงบนเวที  จึงแตกต่างกับละครรำแบบเดิมของไทย  ซึ่งมุ่งความงามอย่างอุดมคติในการแสดง  ท่าท่าทาง (รำ)  เนื้อเรื่อง (ร้อยกรอง)  หลีกหนีอารมณ์รุนแรง  และเรื่องร้ายต่าง ๆ  ถ้าละครรำของไทยมีเรื่องร้าย  หรือมีอารมณ์รุนแรงจะแสดงออกด้วยศิลปะของท่ารำประกอบบทร้อง
                        บทเจรจา  หรือบทสนทนา  เป็นภาคที่สำคัญที่สุดของบทละครแบบตะวันตก  เราจะรู้จักตัวละครและเข้าใจเนื้อเรื่องได้จากบทเจรจาทั้งสิ้น
                        บทละครแบบตะวันตก  มีหลายรูปแบบ ได้แก่
                        )  บทละครพูด  ตัวละครแสดงด้วยการพูดล้วน ๆ
                        )  บทละครพูดสลับคำ  ตัวละครแสดงด้วยการพูดเป็นส่วนใหญ่  มีบทร้อง(เพลง)ประกอบ เช่น  วิวาห์พระสมุทร
                        )  บทละครร้อง  ตัวละครแสดงด้วยการร้องเพลงตลอดเรื่อง  เช่น เรื่องสาวิตรี
                        )  บทละครสลับพูด  ตัวละครแสดงด้วยการร้องเป็นส่วนใหญ่  แต่พูดได้บ้างคือพูดทบทวนที่ร้องไปแล้ว  เช่น  สาวเครือฟ้า
                        )  ละครสังคีต  มีบทพูด  และบทร้อง  ซึ่งสำคัญเท่าเทียมกัน

                  .  วรรณกรรมประเภทสื่อมวลชน
                        สื่อมวลชนเป็นวรรณกรรมประเภทที่เจริญก้าวหน้า  ทวีบทบาทและมีอิทธิพลต่อสังคมเป็นอันมาก
                        วารสาร  และหนังสือพิมพ์รายวัน  มีทั้งภาษาไทย  ภาษาจีน  ภาษาอังกฤษ  มีวารสารการบันเทิง เกี่ยวกับภาพยนตร์และละครหลายฉบับในระยะเวลานี้
                        สื่อมวลชนเหล่านี้ให้บริการต่าง ๆ  ตามความจำเป็นของชีวิตและสภาพสังคม  เป็นต้นว่า ข่าวสาร  วิชาการ  บทความ  นวนิยาย  เรื่องสั้น  สารคดี  ประกาศ  โฆษณา  ธุรกิจการค้า  การบันเทิง  บริการตอบปัญหาด้านต่าง ๆ  แนะนำการเรียน-การสอบ  มิตรสัมพันธ์  การแพทย์  โภชนาการ  การฝีมือ  การพยากรณ์ และเรื่องของเด็ก   สื่อมวลชนจึงสนองความต้องการและความสนใจของประชาชนส่วนใหญ่ได้กว้างขวาง  แม้ว่าจะแพร่ได้ช้ากว่า  และไม่กว้างไกลเท่าวิทยุโทรทัศน์  แต่เป็นสื่อมวลชนที่ถาวรกว่า  คือเก็บเป็นหลักฐานและอ่านทบทวนได้อีก   ข่าวสารที่เผยแพร่ไปทำให้คนทั่วไปได้รับรู้เรื่องต่าง ๆ  ทันเหตุการณ์ทันเวลา บทบรรณาธิการ  และบทความแสดงความคิดเห็นชวนให้คิดและกระตุ้นให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ทำนองเห็นด้วนหรือคัดค้าน  วรรณกรรมประเภทสื่อมวลชนจึงมีความสำคัญต่อความรอบรู้  ความรู้สึกนึกคิด  ตลอดจนการสร้างปฏิกิริยาตอบสนองของประชาชนอย่างกว้างขวาง  เรียกได้ว่ามีอิทธิพลต่อชีวิตของบุคคลในสังคมเป็นอย่างมาก
                        ความก้าวหน้าของวงวรรณกรรมในปัจจุบัน  ก็คือ  มีการส่งเสริมการประกวด  วรรณกรรมทั้งประเภทร้อยแก้วและร้อยกรอง  อันทำให้ได้วรรณกรรมดีเด่นหลายประเภทด้วยกัน  การประกวดวรรณกรรมเริ่มเห็นชัดเจนตั้งแต่รัชกาลที่ ๗  เป็นต้นมา

กวีและนักเขียนที่มีชื่อบางคน
                  พระวรวงค์เธอ  กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร  เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดาและหม่อมเอม  พระนามว่า  พระองค์เจ้าธานีนิวัติ  (สกุลโสณกุล)  ประสูติเมื่อ  .๒๔๒๘  และสิ้นพระชนม์ในเดือนกันยายน  .๒๕๑๗
                  พระวรวงศ์เธอ  กรมหมื่นพิทยลาภฯ  ทรงเป็นนักปราชญ์  มีความรอบรู้ด้านภาษา     วรรณคดี  และศิลปวัฒนธรรมอย่างลึกซึ้ง  พระนิพนธ์มีทั้งที่เป็นภาษาไทย  และภาษาต่างประเทศ  ได้แก่  วิจารณ์เรื่องนิทานปันหยี  หรืออิเหนา  เรื่องพระราม  สูจิบัตรโขนและละคร (รำ)  ซึ่งทรงไว้เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  พระนิพนธ์เหล่านี้ให้ความรู้อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับโขน  ละคร  ศิลปะและวัฒนธรรม

                  มาลัย  ชูพินิจ  เป็นนักเขียนที่มีผลงานเป็นจำนวนมากผู้หนึ่ง  ใช้นามปากกาหลายชื่อ  แต่ที่รู้จักกันทั่วไป  คือ  แม่อนงค์  เรียมเอง  และน้อย  อินทนนท์
             นายมาลัย  ชูพินิจ  เกิดเดือนเมษายน  .๒๔๔๙  ที่จังหวัดกำแพงเพชร  เป็นบุตรนายสอนและนางระเบียบ  ชูพินิจ  สนใจการเขียนหนังสือเป็นอาชีพมาตลอด  มีงานเขียนที่เป็นประเภทเรื่องสั้นรวมทั้งที่แปลมาจากภาษาต่างประเทศ  ประมาณ  ,๕๐๐  เรื่อง  นอกจากนี้  ยังมี นวนิยาย  สารคดี  บทวิจารณ์  บทความ  และบทโทรทัศน์อีกเป็นจำนวนมาก  ล้วนได้รับความนิยมจากผู้อ่านทั่วไป  นับว่าเป็นผู้มีชื่อเสียงในวงการประพันธ์เป็นอย่างยิ่งผู้หนึ่ง

                  กฤษณา  อโศกสิน  เป็นนามปากกาของนางสุกัญญา ชลศึกษ์  บุตรีนายกระมลและนางทองโปร่ง   ชลศึกษ์  กฤษณา อโศกสิน  เกิดเมื่อ  .๒๔๗๔  ศึกษาชั้นมัธยมที่โรงเรียนราชินีล่าง  และต่อชั้นอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  แต่ยังไม่สำเร็จการศึกษาก็ออกทำงานที่กรมประมง  กระทรวงเกษตร  ต่อมาลาออกจากราชการและทำงานด้านการประพันธ์มาตลอด
                  กฤษณา  อโศกสิน  เขียนทั้งนวนิยายและเรื่องสั้น  ใช้นามปากกาอื่นอีก  เช่น  กัญญ์ชลา  สุปปวาสา ได้รับความนิยมจากผู้อ่านกว้างขวาง  มีนวนิยายที่ได้รับรางวัลดีเด่น  และรางวัลชมเชยหลายเรื่อง   นวนิยายดีเด่นของกฤษณา  คือ  เรือมนุษย์  ตะวันตกดิน  ฝันกลางฤดูฝน  รากแก้ว  บ้านขนนก  น้ำเซาะทราย  และไฟหนาว  เป็นต้น  มีผู้นำงานประพันธ์ของกฤษณา  อโศกสิน  ไปสร้างเป็นละครวิทยุ  ละครโทรทัศน์  และภาพยนตร์หลายเรื่อง  นับว่าเป็นนักเขียนสตรีที่ประสบความสำเร็จในการประพันธ์อย่างดียิ่ง
                  นอกจากนี้  ยังมีนักเขียนและนักแปลที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ  อีกมาก  เช่น หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง  รพีพัฒน์     สด  กูรมะโรหิต     หลวงวิจิตรวาทการ    อิศรา  อมันตกุล   อังคาร  กัลยาณพงศ์   สุคนธรส  (..รสสุคนธ์  อิศรเสนา)  อมราวดี  (ลัดดา  ถนัดหัตถกรรม)  .ประมวญมารค   (พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต)   บุญเหลือ (..บุญเหลือ  เทพยสุวรรณ)   โบตั๋น (สุภา  ลือศิริ)  ฯลฯ  ซึ่งทำให้เห็นว่าวรรณกรรมของไทยพัฒนา  ขยายตัวออกอย่างกว้างขวาง  และนับวันจะมีความสัมพันธ์กับชีวิตในสังคมไทยยิ่งขึ้น

ประวัติวรรณคดีสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว( พ.ศ. 2453-2468 )
ความเคลื่อนไหวทางวรรณคดี
1.วรรณคดีประเภทร้อยกรองเจริญถึงขีดสูงสุดถือว่าเจริญก้ำกึ่งกับร้อยแก้ว
2.วรรณคดีประเภทร้อยแก้วได้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน
3.เป็นระยะเวลาที่วรรณคดีตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลต่อวรรณคดีไทย
4.หวนมานิยมวรรณคดีสันสกฤตอีกวาระหนึ่ง แต่ผ่านมาทางต้นฉบับภาษาอังกฤษ
5.นาฏวรรณคดีเปลี่ยนรูปมาเป็นบทละครพูด ละครร้อง
6.ทรงตราพระราชบัญญัติวรรณคดีสโมสร พ.ศ.2457
7.กษัตริย์ทรงเป็นประธานในการแต่งวรรณคดี ทรงสร้างสรรค์วรรณคดีไว้มาก ทรงสนับสนุนให้ผู้อื่นอ่านหนังสือและให้เสรีภาพในการเขียนหนังสืออย่างกว้างขวาง

สาเหตุแห่งความเจริญของวรรณคดีสมัย ร.6
1.กษัตริย์ทรงเป็นกวี นักเขียน และนักหนังสือพิมพ์
2. ทรงชักชวนให้ผู้อื่นเขียนหนังสือ
3.ทรงตั้งวรรณคดีสโมสร เพื่อส่งเสริมการแต่งหนังสือ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชประวัติ
  ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ  ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 1มกราคม พ.ศ. 2423 พระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าชายมหาวชิราวุธ ครองราชย์เมื่อ พ.ศ.2453 พระชนมายุ 30 พรรษา ครองราชย์เป็นเวลา 15 ปี สวรรคต พ.ศ. 2468
พระชนมายุ 14 พรรษา เสด็จไปศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ทรงศึกษาวิชาทหารที่โรงเรียนทหารแซนด์เฮิสต์ วิชาพลเรือนที่มหาวิทยาลัยออกฟอร์ด ทรงเชี่ยวชาญในอักษรศาสตร์ แตกฉานในภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส ทรงศึกษาวิชาการอยู่ 9 ปีจึงเสด็จนิวัติสู่พระนครใน พ.ศ. 2466
ตลอดรัชสมัยของพระองค์ ทรงปรับปรุงความเจริญของบ้านเมืองสืบต่อจากร .5  และทรงริเริ่มสิ่งใหม่หลายประการ ทรงโปรดการเล่น3 อย่างคือ
1.การออกหนังสือพิมพ์
2.การสโมสร
3.การละคร

งานทางวรรณคดี
ลักษณะงานพระราชนิพนธ์ของ ร.6
1.      ทรงลำดับข้อความดีเด่นเป็นพิเศษ
2.      มีลีลาดีเด่นในการกระชับเรื่อง กระชับความ
3.      โปรดการใช้ภาษาไทยที่บริสุทธิ์ ทรงรังเกียจสำนวนอย่างฝรั่ง และสำนวนที่ฟุ่มเฟือยหรูหรา
4.      ความชัดเจนในสำนวนภาษา
5.      ทรงสามารถเลือกใช้คำที่มีวิญาณ มีชีวิตชีวา
6.      ทรงมีอุบายในการใช้ถ้อยคำ
7.      ทรงมีศิลปะในการตั้งชื่อเรื่อง

ประเภทของงานพระราชนิพนธ์ ร.6
1.ประเภทวรรณคดีต่างประเทศที่ถอดเป็นภาษาไทย เช่น ศกุนตลา,สาวิตรีตามใจทาน
2.ประเภทบทละคร ทั้งที่ทรงแปลจากต่างประเทศ และที่ทรงประดิษฐ์เรื่องขึ้นเอง
3.ประเภทตำนาน ประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้แก่ เที่ยวเมืองพระร่วง,สืบราชสมบัติโปรแลนด์,ขอมดำดิน
4.ประเภทคติทางการเมือง ปาฐกถาและบทความ ได้แก่ ปลุกใจเสือป่า , โคลนติดล้อ
5.ประเภทสารคดีและงานวิจัย ได้แก่ บ่อเกิดพระราม พระศุนหเศป
6.ประ เภทบันเทิงคดี เช่น หัวใจชายหนุ่ม
7.  ประเภทกวีนิพนธ์และร้อยกรองทั่วไป เช่น พระนลคำหลวง ,นิราศพระมเหลเถไถ
8.เรื่องศาสนา ธรรมะ เช่น พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร,มงคลสูตร
9.เรื่องการทหาร เช่น สงครามป้อมค่ายประชิด
10.เรื่องปลุกใจ เช่น ปลุกใจเสือป่า เมืองไทยจงตื่นเถิด
11.บทพากย์โขน ได้แก่ บทพากย์รามเกียรติ์ชุดต่างๆ

ก.     พระราชนิพนธ์ประเภทร้อยกรอง
ทรงพระราชนิพนธ์ได้ดีเยี่ยมทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน
1.      พระราชนิพนธ์ประเภทกาพย์เห่เรือ
ประวัติ
 ทรงพระราชนิพนธ์  "กาพย์เห่เรือยุคใหม่ "เมื่อ พ.ศ. 2457 พระราชทานแก่หนังสือ"สมุทรสาคร "
จุดมุ่งหมาย
เพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญของกองทัพเรือ เชิญชวนให้สนใจกองทัพเรือ
 เนื้อเรื่อง
กล่าวเริ่มต้นถึง ร.6 เสด็จทางชลมารคโดยเรือมหาจักริ แวดล้อมด้วยเรือปืนและเรือตอปิโด เมื่อไปทอดพระเนตรการซ้อมรบทางเรือสัตหีบ เมื่อเสด็จผ่านตำบลใดก็ทรงพรรณนาไว้โดยจละเอียดทุกตอนตามแบบนิราศ บางตอนก็แทรกความเห็นเกี่ยวกับสังคมสมัยใหม่ และเน้นความสำคัญของกองทัพเรือ
ตัวอย่างคำประพันธ์
     "  อ่านอ่านรำคาญฮือ     แบบหนังสือสมัยใหม่
         อย่างเราไม่เข้าใจ       ภาษาไทยเขาไม่เขียน   "

2.      ประเภทลิลิตทำนองนิราศ  "ลิลิตพายัพ"
      ประวัติ  ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. 2448 เป็นปีที่สร้างทางรถไฟสายเหนือไปถึงนครสวรรค์ ได้รับพระราชบัญชาจาก ร.5 พระชนกนาถให้เสด็จประพาสหัวเหนือโดยประสงค์จะให้คุ้นเคยกับประชาชนและข้าราชการหัวเมือง รวมทั้งประเทศที่ห่างไกล ได้นำลงพิมพ์ในหนังสือทวีปัญญา รายปักษ์เป็นครั้งแรก ภายหลังจัดพิมพ์เป็นเล่มเนื่องในงานทำบุญปัญญาสมวารศพเจ้าพระยาราชศุภมิตร        มีผู้ช่วยเหลือในการแต่ง 3 คน คือ น้อยสบจินดา ( ม.จ.ถูกถวิล) หนานขวาย
       เนื้อเรื่อง
       กล่าวถึงการเดินทางรถไฟ จากกรุงเทพฯถึงปากน้ำโพ ทางเรือจากปากน้ำโพไปขึ้นบกที่อุตรดิตถ์ และเสด็จทางม้าและทางช้าง ไปเมืองแพร่ ลำปาง เชียงราย เชียงใหม่  จากเชียงใหม่ลงเรือล่องมาตามแม่น้ำปิงเรื่อยมาจนถึงบางประอิน แล้วเสด็จกลับรถไฟ ตลอดระยะทางที่เสด็จผ่านไปในภาคพายัพ ได้รับการสมโภชและต้อนรับอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง ทรงพระเกามสำราญราชหฤทัยอย่างยิ่ง

3.      ประเภทนิราศ
นิราศมะเหลเถไถ
ประวัติ
เป็นหนังสือนิราศคำกลอนประเภทตลกขบขัน ทรงพระราชนิพนธ์ พ.ศ. 2465 เนื่องในการเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคประพาสมณฑลอยุธยาและนครสวรรค์
จุดมุ่งหมาย
ทรงพระราชนิพนธ์ล้อเล่นเรื่องพระมะเหลเถไถ ของคุณสุวรรณ
เนื้อเรื่อง
กล่าวบรรยายเมื่อประพาสหัวเมือง ทำนองบันทึกรายวันธรรมดา บางตอนเล่าละเอียดถึงประวัติสถานที่ต่างๆ คล้ายๆนิราศลอนดอน บางตอนประสงค์จะให้เป็นที่เพลินเพลิดและขบขัน

4.ประเภทสุภาษิตต่างๆ
โคลงสุภาษิต
ประวัติ
เป็นหนังสือรวมบรรดาโคลงสุภาษิตต่างๆ ที่ลงพิมพ์ในหนังสือดุสิตสมิตรวม 65 บาท พิมพ์เป็นเล่มเมื่อ พ.ศ. 2463 เนื่องด้วยนายหมวดตรี นายจ่ายวด( ปราณี ไกรกฤษ์ ) เลขานุการคนสนิทแห่งยานกเสือป่า(ร.6) ได้เสียชีวิตลง
บรรดาโคลงสี่สุภาษิตต่างๆ ได้ทรงแปลจากสุภาษิตต่างๆ ของปราชญ์ และพุทธภาษิตและได้แต่งบทอธิบายออกไปให้กว้างขวางทำนองจำแนกเนื้อความ

5.ประเภทสักวา
สักวาหน้าหนาว
ทรงพระราชนิพนธ์สักวารวม 66 บท บรรยายเรื่องคนจับจด ชอบโก้เก๋ ชื่อนายสวัสดิ์ พ่อแม่ร่ำรวย แต่ตัวเองเป็นคนไม่ดี ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ทำงานอะไรไม่เป็น ได้แต่ผลาญทรัพย์สมบัติพ่อแม่ให้หมดไป ในที่สุดเมื่อสิ้นสุดเนื้อประดาตัวลง กลับคิดได้ และตั้งตนเป็นคนดี

6.บทละครประเภทเบิกโรงสั้นๆ
บทละครเบิกโรงเรื่องดึกดำบรรพ์
ประวัติ
ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นตามหนังสือวรรณคดีโบราณและดัดแปลงให้เหมาะแก่การเล่นละครไทย
จุดมุ่งหมาย
1.เพื่อใช้เล่นเบิกโรงคล้ายๆออกแขก แต่มีลักษณะทุกอย่างเป็นละครรำ
2.การพิมพ์ครั้งแรกเพื่องานฉลองสุพรรณบัฏองเจ้าพระยารามาฆพ
เนื้อเรื่อง มีอยู่ 4 เรื่อง
1. มหาพลี กล่าวถึงพระพรหมเชิญเทวดาทุกชั้นฟ้า มาประชุมบูชาพระรัตนตรัยอวยพรให้พระมหากษัตริย์ตลอดจนไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเป็นสุข แล้วพระพรหมให้พระภรตตมุนีจัดการเล่นละครดึกบรรพ์
2. ฤษีเสี่ยงลูก กล่าวถึงตรีกาลัญดาบสอุ้มลูกไปอุ้มลูกไปอาบน้ำ นางสวาหะลูกสาวตัดพ้อฤษีผู้เป็นบิดาว่าอุ้มลูกคนอื่น ปล่อยให้ตนซึ่งเป็นลูกตัวต้องเดิน พระฤาษีจึงเสี่ยงอธิษฐานโยนลูกทั้ง 3ลงไปในน้ำ ถ้าใครเป็นลูกตนแท้ๆให้ว่ายกลับมา ปรากฏว่านางสวาหะว่ายน้ำกลับมาผู้เดียว ส่วนพาลีและสุครีพว่ายขึ้นฝั่งตรงข้ามและเข้าป่าไป ฤาษีจึงทราบว่าวานร 2 ตัวนั้นเป็นลูกของบเมียดที่เกิดแต่ชู้
3.นรสิงห์หาวตาร กล่าวถึงพระอินทร์ถูกยักษ์ ชื่อหิรัญยักษ์สิปุ แย่งสวรรค์จึงฟ้องพระอินทร์ พระอินทร์โปรดให้พระนารายณ์ไปปราบ พระนารายณ์แปลงเป็นนรสิงห์ไปฆ่าหิรัญยักษ์สิปุตาย
4. พระคเณศร์เสียงา กล่าวถึงพราหมณ์ ปรศุรามถือตัวว่าเป็นที่โปรดปรานของพระอิศวรจะเข้าเฝ้าตามอำเภอใจทั้งๆที่เป็นเวลาบรรทม พระคเณศร์หัก พระอุมาโกรธสาปให้ปรศุรามหมดฤทธิ์ ปรศุรามขอให้พระนารายณ์ช่วย พระนารายณ์ได้ช่วยให้พ้นคำสาป

7. ประเภทโขน
ธรรมะสงคราม
ประวัติ
ทรงพระราชนิพนธ์ตามเค้าเรื่อง ในธรรมชาดกเอกาทศนิบาต เมื่อ พ.ศ. 2461 พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2463 ได้เนื้อเรื่องมาจากสดับพระเทศนา
จุดมุ่งหมาย เพื่อแสดงคติว่า ธรรมกับอธรรมให้ผลในด้านตรงกันข้ามธรรมย่อมนำไปสู่สุคติ อธรรมย่อมนำไปสู่นรก
เนื้อเรื่อง
กล่าวถึงพระธรรมะเทพบุตร ผู้รักษาธรรมทุกวันพระได้เสด็จมาตักเตือนชาวโลกให้ทำดีประพฤติกุศลกรรมบถ 10 ประการ ฝ่ายอธรรมเทพบุตรผู้ประพฤติชั่ว สอนประชาชนให้ประพฤติอกุศลกรรมบถ เทพทั้ง 2 ได้นำขบวนเทวดาทั้ง 2 ฝ่ายมารบกันกลางอากาศฝ่ายธรรมเทพบุตรเป็นฝ่ายชนะ      

8.      ประเภทแสดงตำนาน
ประวัติ  ทรงพระราชนิพนธ์ เมื่อ พ.ศ. 2466  จบบริบูรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2467
พิมพ์แจกในงานฉลองพระชนมายุ  21  พรรษา แห่งสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี พระบรมราชินี ในการนิพนธ์ทรงใช้ หนังสือ Hindo  Mythology  ของ J.W. Wilkins  เป็นหลัก
จุดมุ่งหมาย
 เพื่อแสดงตำนาน  เรื่องนารายณ์อวตารคติพราหมณ์และพุทธ
เนื้อเรื่อง
กล่าวถึง พระนารายณ์อวตารลงมาปราบทุกข์เข็ญในโลก 10 ปาง
ปางที่  1  มัตสยาวตาร  อวตารลงมาเป็นปลาศะผะริฆ่าอสูรหัยครีพ ผู้ลักพระเวท ของพระพรหม  แล้วปลาศะผะรินำพระเวทมาคืนพระพรหม
ปางที่ 2  กูรมาวตาร  อวตารลงมาเป็นเต่าใหญ่ไปรองรับข้างใต้ภูเขา มันทรที่                                                                             ปางที่  3 วราหวตาร อวตารลงมาเป็นหมูปราบหิรันตยักษ์ผู้ม้วนแผ่นดิน
ปางที่ 4 นรสิงหาวตาร เป็นนรสิงห์ ปราบหิรัณยกสิปุยักษ์ ซึ่งแย่งสวรรค์ของพระอินทร์
ปางที่ 5 วามนาวตาร เป็นพราหมณ์เตี้ย ทำอุบายแย่งโลกสวรรคื จากท้าวพลีพญาแทตย์และมอบบาดาลให้พลีครอบครอง
ปางที่ 6 ปรศุรามาวตาร เป็นพราหมณ์ชื่อราม (รามสูตร) ฆ่าอรชุน
ปางที่ 7 รามจัทรอวตาร เป็นพระรามตามเรื่องรามเกียรติ์
ปางที่ 8 กฤษณาวตาร เป็นพระกฤษณะปราบยักษ์ชื่อพญากงศ์ ตามเรื่องมหาภารตยุทธิ์
ปางที่ 9 พุทธวตาร เป็นพระพุทธเจ้า คือพระสิทธัตถกุมาร
ปางที่ 10 กัลป์กกยาวตาร อวตารเป็นบุรุษผิวขาว ชื่อ กัลป์ลี ลงมาปราบกลียุคซึ่งจะมาถึงนี้

9.      ประเภทเสภา
ได้แก่บทเสภาสำหรับขับนำและแทรกชุดระบำสามัคคีเสวก ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. 2457 ใช้สำหรับในชุดระบำสามัคคีเสวก
เนื้อเรื่อง
แบ่งเป็น 4 บท
1.กล่าวถึงนนทีผู้เป็นเทพสาวก แปลงเป็นโคอสุภราชให้พรอินทร์ทรงประทับ
2.กล่าวถึงพระคเณศร์ผู้เป็นเทพแห่งศิลปะวิทยาและเป็นผู้สร้างตระกูลช้างต่างๆในโลก
3.กล่าวถึงพระวิศวกรรมผู้เป็นเทพเจ้าแห่งการก่อสร้างและงานช่าง
4.กล่าวถึงความสามัคคีในหมู่ราชสวามิภักดิ์ใต้เบื้องยุคลบาท
ตัวอย่างบทประพันธ์
อันชาติใดไร้ช่างชำนาญศิลป์    เหมือนนารินไร้โฉมบรรโลมสง่า
ผู้ใดเห็นไม่เป็นที่เจริญตา          เขาจะพากันเย้ยให้อับอาย

10.ประเภทบทละครคำกลอน
บทละครที่แปลจากบทละครของเชกสเปียร์
เวนิสวานิส
 ประวัติ
ทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทละครพูดคำกลอน เมื่อ พ.ศ. 2459 โดยทรงแปลถอดมาจากบทละครพูดภาษาอังกฤษ เรื่อง The Merchant of Venice
เนื้อเรื่อง
กล่าวถึงไชล็อคยิวใจดำ ฟ้องศาลให้บังคับคดีให้ตนเชือดเนื้ออันโตนิโย 1 ปอนด์ ตามที่ระบุไว้ในสัญญาเงินกู้อันโตนิโยถูกฟ้องศาลเพราะไม่มีเงินใช้หนี้ ที่กู้ให้บัสสานิโยไปใช้จ่ายในงานแต่งงาน  ปอร์เชียได้คิดช่วยอันโตนิโยผู้มีบุญคุณต่อสามี โดยปลอมเป็นผู้พิพากษาไปชำระคดี มีผลให้ไชล็อคแพ้คดี
ตัวอย่างคำประพันธ์
ชนใดไม่มีดนตรีการ    ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก
อีกใครฟังดนตรีไม่เห็นเพราะ    เขานั้นเหมาะคิดขบถอัปลักษณ์

10.2 บทละครที่ได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีสันสกฤต
1. ปรียทรรศิกา
ประวัติ เป็นนาฏิกาสันสกฤต ทรงแปลเมื่อ พ.ศ. 2467 พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2468 เหตุที่ทรงพระราชนิพนธ์ เพราะมีชาวอินเดีย ชื่อ คุษฏัสปษาห์ ไกขุโษร นริมัน ได้นำบทละครสันสกฤตฉบับภาษาอังกฤษมาทูลเกล้าถวาย จึงทรงถอดเป็นพากษ์ไทย ทรงแปลอย่างรักษาเนื้อความ คำต่อคำ ตรงไหนเป็นร้อยแก้วก็แปลเป็นร้อยแก้ว ตรงไหนเป็นฉันท์ก็ทรงแต่งเป็นฉันท์
จุดมุ่งหมายในการแต่ง จะให้นักเลงอ่านหนังสือได้รู้ชัดว่า ละครสันสกฤตโบราณเขาแต่งกันอย่างไร แสดงกันอย่างไร
เนื้อเรื่อง นางปรียทรรศิกา ขณะรุ่นสาวได้ถูกพามายังราชสำนักพระเจ้าวัตสราชพระนางวาสวทัตตาพระมเหสีหึงและได้เอาตัวนางอารัณยกา(ปรียทรรศิกา)ไปขังไว้ พระเจ้าวัตสราชส่งกองทัพไปตีทัพท้าวกลิงค์ช่วยเอาท้าวทฤฒวรมันพระราชบิดาของนางอารัณยกากลับบ้านเมือง ท้าวทฤณวรมันอ้างเหตุยกนางอารัณยกาให้เป็นชายาพระเจ้าวัตสราช
ข้อวิจารณ์ เป็นสำนวนแปลที่รักษาสำนวนและใจความฉบับสันสกฤตไว้อย่างดี
10.3 บทละครที่เกี่ยวกับตำนาน

1. บทละครพูดคำกลอนเรื่อง พระร่วง
            ประวัติ ทรงพระราชนิพนธ์ในปี พ.ศ. 2456 ในระหว่างเสด็จกลับจากทอดพระเนตรพระเจดีย์พระเนศวรที่แขวงเมืองสุพรรณบุรี
            จุดมุ่งหมาย เพื่อแสดงตำนานเมืองอู่ทอง และประวัติพระเจ้าอู่ทอง
            เนื้อเรื่อง กล่าวถึง ชินเสนโอรสพระเจ้ากรุงศรีวิไชยปลอมตัวเป็นนายแสนปม ลอบรักใคร่กับนางอุษาราชธิดาท้าวไตรตรึงษ์จนเกิดพระโอรส (พระเจ้าอู่ทอง) โดยไม่ทราบว่าใครเป็นบิดาของทารก ได้มีประกาศเสี่ยงทายเพื่อให้ทราบว่าใครเป็นพระสวามีของนางอุษา ชินเสนถือก้อนเช้าเย็นล่อพระกุมาร ท้าวไตรตรึงส์ต้องยอมยกนางอุษาให้ท้าวแสนปม
            ข้อวิจารณ์ เนื้อเรื่องเป็นไทยๆ แต่งดี เนื้อเรื่องไพเราะ บทรักหวานล้ำ
            ตัวอย่างคำประพันธ์
            "เห็นแก้วแวววับที่จับจิต                     ไยไม่คิดอาจเอื้อมให้เต็มที่
            เมื่อไม่เอื้อมจะได้อย่างไรมี       อันมณีฤาจะโลดไปถึงมือ
            อันของสูงแม้ปองต้องจิต                     ถ้าไม่คิดปีนป่ายจะได้ฤา-"

10.4 บทละครประเภทอื่นๆ
1. วิวาห์พระสมุทร
            เป็นบทละครพูดสลับรำ มีทั้งบทร้องและบทเจรจา ทรงพระราชนิพนธ์ เมื่อ พ.ศ. 2461 เนื้อเรื่องได้เค้ามาจากนิยายกรีกเก่าเชื่อว่า ถ้าหญิงงามตายในทะเลจะช่วยให้พ้นอุทกภัย
            จุดมุ่งหมาย เมื่อพระราชทานแก่คณะเสือป่า กองเสนาหลวงรักษาพระองค์ แสดงเก็บเงินบำรุงราชนาวีสมาคมแห่งกรุงสยาม ณ พระราชวังสนามจันทร์
            เนื้อเรื่อง กล่าวถึงประชาชนชาวกรีก ณ เกาะ อัลฟะเบตา โง่เขลา หลงเชื่อในอำนาจทางทะเล เมื่อครบรอบ 100 ปี จะต้องส่งสาวพรหมจารีไปเป็นเจ้าสาวของพระสมุทร กษัตริย์มิดัสผู้ครองเกาะจำใจส่งราชธิดาชื่ออันโดรเมดาไปสังเวยทางทะเล  แต่อันเดรคู่รักของนางออกอุบาย ขอให้นายนาวาเอกเอดเวิดไลออนกัปตันเรืออังกฤษมาขู่ชาวเมืองให้ยกนางให้อันเดรนางจึงรอดชีวิต และได้แต่งงานกับอันเดรสมปรารถนา
            คุณค่าทางวรรณคดี เป็นบทละครสุขใจและขบขันบางตอน เป็นเรื่องรักสดชื่นจบลงด้วยคงามสุข กระบวนกลอนและฉันท์ประณีตบรรจง บทร้องเพราะทำนองดี

            ตัวอย่างคำประพันธ์
(1)     "ปากเป็นเอกเลขเป็นโทโบราณว่า หนังสือตรีมีปัญญาไม่เสียหลาย
ถึงรู้มากไม่มีปากลำบากกาย                             มีอุบายพูดไม่เป็นเห็นป่วยการ

(2)      ผู้ใดมีอำนาจวาสนา                                  ธรรมดาหาอะไรก็หาได้"
กำหมัดคือยุติธรรมจงจำไว้                              ใครหมัดใหญ่ได้เปรียบเรียบเทียวเกลอ

พระราชนิพนธ์ประเภทร้อยแก้ว
ก.      เกี่ยวกับประวัติศาสตร์
1. เรื่องเที่ยวเมืองพระร่วง เป็นหนังสือยาวประมาณ 30 ยก
จุดม่งหมายในการแต่ง มีพระราชประสงค์เพื่อให้เป็นแนวทางแก่ผู้ชำนาญในโบราณคดีจะได้มีโอกาสพิจารณาและสันนิษฐานเกี่ยวกับเมืองสุโขทัย สวรรคโลก กำแพงพชร และอุตรดิตถ์ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ช่างไทยให้คิดจรรโลงการช่างต่างๆไว้ และเพื่อให้คนไทยได้ทราบว่าชาติไทยนั้นได้เคยเป็นชาติที่รุ่งเรืองมาแต่โบราณกาล
เนื้อเรื่อง กล่าวถึงโบราณสถาน,โบราณวัตถุที่น่าสนใจในเมืองกำแพงเพชร สุโขทัย สวรรคโลก และอุตรดิตถ์ฯลฯ ว่าเป็นสิ่งที่มีค่าและเชิดชูศิลปะของไทยมาก เป็นเครื่องหมายแสดงความเจริญของชาติไทยแต่สมัยโบราณ

ข.     เกี่ยวกับวรรณคดีและศาสนา
1. คำอธิบายและอภิธานประกอบเรื่องนารายณ์สิบปาง
ประวัติ ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อพ.ศ.2466 ยาวประมาณ 15 ยก
จุดมุ่งหมาย เพื่อเป็นคู่มือในการอ่านนารายณ์สิบปาง และเพื่อเป็นข้อเปรียบเทียบเรื่องนารายณ์สิบปางฉบับของหอพระสมุด และลิลิตนารายณ์สิบปางที่ ร.6 ทรงพระราชนิพนธ์
เนื้อเรื่อง แบ่งออกเป็น 2 ภาค คือคำอธิบายและภาคอภิธาน อธิบายศัพท์และข้อความที่เข้าใจยาก ให้ความรู้ในเรื่องลัทธิศาสนาพราหมณ์

2. พระราชนิพนธ์คำนำ
            ประวัติ รวบรวมจากพระราชนิพนธ์ต่างๆของ ร.6
            จุดมุ่งหมาย เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบถึงกรณียกิจที่ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องนั้นๆ
            เนื้อเรื่อง ทรงอธิบายพระราชประสงค์ในการที่ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องเที่ยวเมืองพระร่วง พงศาวดารยุทธศิลป์ พระบรมราโชวาทในงานวิสาขบูชา รามเกียรติ์ ตามใจท่าน พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร และเรื่องตรีอาธิปไตย
ค. เกี่ยวกับการทหาร การต่างประเทศและเบ็ดเตล็ด

3. การจลาจลในรัสเซีย
ประวัติ  ทรงแปลจากภาษาอังกฤษ  ยาวประมาณ 5 ยก
จุดมุ่งหมาย  เพื่อแถลงเหตุการณ์ต่างๆ ในประเทศรัสเซีย และเพื่อคติเตือนใจชาวไทยมิให้ก่อการร้ายขึ้นในประเทศ
เนื้อเรื่อง   เพื่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยล้มแล้ว นักการเมืองในประเทศรัสเซียได้แบ่งแยกเป็นคณะ มีพวกมัธยม และโซเวียลิสก์ พวกมาร์กซิสก์เลนินเป็นฝ่ายชนะ

4. การสงครามป้อมค่ายประชิด
ประวัติ  พระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. 2459 ยาวประมาณ 13 ยก
จุดมุ่งหมาย  เพื่อให้ทหารเสือป่า และผู้สนใจได้ทราบถึงวิธีดำเนินสงครามป้อมค่ายประชิด
เนื้อเรื่อง  กล่าวถึงสงครามที่ตั้งป้อมค่ายประชิดกัน  และใช้กำลังทหารและอาวุธรุกชิงพรมแดนกัน  ทำลายป้อมค่ายประชิดหรือสิ่งที่กีดขวางของข้าศึกเสียก่อน

5. กฎหมายทะเล
ประวัติ  ทรงรวบรวมขึ้นจาก หนังสือสมุทรสาร เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการทางทะเลรวมทั้งหมด12เรื่อง ยาวประมาณ 39 ยก
จุดมุ่งหมาย  เพื่อให้ผู้สนใจศึกษาวิชากฎหมาย  ได้รับความสะดวกในการค้นหาเรื่องต่างๆและเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง  ทรงรวบรวมให้พิมพ์เป็นเล่มขึ้น เพื่อแจกในงานศพท่านผู้หญิงเอี่ยมอภัยราช
เนื้อเรื่อง  กล่าวถึงสิทธิและอำนาจในน่านน้ำทางทะเลของประเทศต่างๆ
                       
คำวิจารณ์พระราชนิพนธ์หมวดสารคดี
            เป็นพระราชนิพนธ์ที่ให้ความรู้แก่ผู้อ่านพร้อมทุกด้าน  ทำให้ได้รับความรู้กว้างขวาง ทุกเรื่องเหมาะสมกับเหตุการณ์และเวลา เช่นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ทรงพระราชนิพนธ์และแปลเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับสงครามเพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้ทราบความเคลื่อนไหวของสงคราม ในด้านศาสนา ทรงเลือกสรรทรงพระราชนิพนธ์แต่ในข้อที่น่ารู้น่าสนใจ ทรงใช้พระโวหารเรียบๆเข้าใจง่ายน่าอ่าน ตอนใดที่ยุ่งยากซับซ้อนก็พระราชทานอรรถาธิบายอย่างละเอียดพร้อมกับยกเหตุผลและอุทาหรณ์เปรียบเทียบทำให้เข้าใจซาบซึ้ง ทรงสนพระทัยค้นคว้าความรู้มาเผยแพร่แก่พศกนิกรด้วยพระวิริยะอุสาหะเป็นที่ยิ่ง
หมวดปลุกใจเสือป่า
            ร.6 มีพระราชประสงค์ในการทรงพระราชนิพนธ์ปลุกใจ เพื่อให้เป็นข้อกระตุ้นเตือนชาวไทยให้ตระหนักในความสำคัญของชาติ ให้รู้จักรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ประพฤติตนเป็นพลเมืองดีของชาติ มีความสามัคคี ตั้งมั่นอยู่ในความสุจริตและรักษาความสงบเรียบร้อย ให้สำนึกในภัยต่างชาติและแก้ไขและช่วยจรรโลงชาติให้เจริญวัฒนาถาวรสืบไป
                                     
1. ปกิณกคดีของอัศวพาหุ
ประวัติ  ปรากฏครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ไทย  ยาวประมาณ 19 ยก
เนื้อเรื่อง  ทรงบรรยายถึงเหตุการณ์ในเมืองจีนซึ่งเปลี่ยนแปลงเป็นสาธารณรัฐ  มีอุปสรรค เกิดความปั่นป่วน ยุ่งยากเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศตุรกี

2. ความเห็น 9 เรื่องและความเห็น 10 เรื่องของอัศวพาหุ
ประวัติ  ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทย พ.ศ. 2458  2459
เนื้อเรื่อง  ความเห็น 9 เรื่อง คือ มะพร้าวตื่นดก ถูกบังคับให้จีนวั่งตี่องค์ใหม่การภายหน้าในเมืองจีน ทุรยศโดยอาชีวะ การเลือกคนเข้าไปเป็นข้าราชการ ปัญญานายคูลีย์  เจ้าลัทธิ ไม่ชอบไทย
            ความเห็น 10 เรื่อง ได้แก่ ลัทธิเอาอย่าง ความเข้าใจผิด ความเป็นชาติโดยแท้จริง , เมื่ออ่านบทความคับแค้นแห่งพลเมือง , ตัวอย่างสำหรับนักพูด ,ความเมินเฉยต่อความทุกข์เวทนา ไทยผสมเป็นคนที่ไม่พึ่งประสงค์ ,ไทยผสมระวังผีพนัน

3. อำนาจคือธรรม
ประวัติ  ทรงพระราชนิพนธ์ เมื่อพ.ศ. 2460 ลงพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ไทย
เนื้อเรื่อง  กล่าวประณามเยอรมันว่าเป็นชาติที่ใช้อำนาจเป็นธรรมมาแต่โบราณกาลใชกำลังทหารดำเนินการด้วยวิธีการต่างๆพยายามจะเป็นเจ้าโลก

4. อัศวภาษิต
            เป็นภาษิตปลุกใจต่างๆ รวบรวมจาก ปกิณกคดีของอัศวพาหุ ลงพิมพ์ในหนังสือดุสิตสมิตร พ.ศ. 2462
            นอกนี้ ได้แก่เรื่อง กรุงสยามเข้าสงครามแล้ว, ไชโย , ขอชวนท่านเป็นแมลงหวี่ พระบรมราโชวาทเสือป่า , พระบรมราโชวาททหาร ,พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบรมราโชวาทตักเตือนข้าราชการในพระราชสำนัก พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่นักเรียนผู้กำกับลูกเสือ , พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสตอบในการที่กรมเสือป่าพรานหลวงน้อมเกล้าถวายของ แบบฝึกหัดเสือป่าราบ , พระราชกำหนดหน้าที่เสือป่า,ข้อบังคับต่างๆเกี่ยวกับเสือป่า

คำวิจารณ์พระราชนิพนธ์หมวดปลุกใจและเสือป่า
             พระราชนิพนธ์หมวดนี้ชี้ให้เห็นพระปรีชาสามารถอันล้ำเลิศของพระองค์ในกิจการทุกด้าน พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสต่างๆก็แถลงให้ทราบถึงพระบรมราโชบายในการปกครองและทะนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญขึ้นอย่างน่าสรรเสริญ ทรงอบรมเสือป่า ,ลูกเสือและชาวไทยทุกคนให้มีความกล้าหาญ รู้จักเสียสละเพื่อชาติศาสนาพระมหากษัตริย์ ในการปลุกใจประชาชน ทรงโน้มน้าวจิตใจชาวไทยให้รู้สึกตัวตามไปด้วย ทรงมีเหตุและหลักฐานควรเชื่อถือ

หมวดบันเทิงคดี
แมลงป่องทอง
ประวัติ ทรงแปลจากเรื่องภาษาอังกฤษ ของแซกซ์ โรเมอร์ ยาว 30 ยก
จุดมุ่งหมาย  เพื่อเป็นเครื่องบันเทิง เป็นคติให้คนไทยรักชาติแท้จริง ให้มีความรอบคอบ มีไหวพริบ ปฏิภาณ รู้จักระมัดระวัง และสังเกตเหตุการณ์ต่างๆ
เนื้อเรื่อง  มีผู้ร้ายคนหนึ่ง          ใช้เครื่องหมายแมงป่องทองประจำคณะ หัวหน้าชื่อ "โฟชี้"เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในทางวิทยาศาสตร์ ฉลาด มีเล่ห์เหลี่ยม ไหวพริบ ได้เข้าไปทำการร้ายต่างๆในประเทศมหาอำนาจของยุโรป จับเอาตัวบุคคลสำคัญๆ ของยุโรปไปเมืองจีน ด้วยการฉีดยาให้ตาย พอไปถึงเมืองจีนก็ฉีดยาให้ฟื้นขึ้น แล้วใช้อำนาจสะกดจิต บังคับให้คนเหล่านี้ทำประโยชน์ให้แก่จีน  สก็อตแลนด์ยาร์ด ตำรวจลับของอังกฤษได้พยายามสืบจับผู้ร้ายจนสำเร็จ โฟชี้ฆ่าตัวตาย

นิทานทองอิน
ประวัติ ทรงพระราชนิพนธ์ ลงพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ทวีปญญา
จุดมุ่งหมาย  เพื่อเป็นเครื่องบันเทิงและคติแก่ผู้อ่าน ให้มีความเฉลียวฉลาด รอบคอบ รู้จักไหวพริบ และรู้จักใช้สติปัญญาของตน
เนื้อเรื่อง นายทองอินเป็นนักสืบที่มีความสามารถ ได้สืบสวนคดีต่างๆเป็นผลสำเร็จรวม 10 คดี คือ นากพระโขนงที่สอง นายสุวรรณ ถูกขโมย ,ความลับแผ่นดิน,นายสวัสดิ์ ปิตุฆาต ,ยาม้าบังกะโล , เข็มร้อยดอกไม้ ,ผู้ร้ายฆ่าคนที่บางขุนพรหม ,นายจรูญเศรษฐี ,ระเด่นลันได  สร้อยคอร้อยชั่ง

ประพฤติการณ์แห่งนายเรือเอกลอเลสส์
ประวัติ  ทรงแปลจากนิทานภาษาอังกฤษของโรส์ฟ เบ็นเนต ลงพิมพ์ในหนังสือสมุทรสาร พ.ศ. 2459
จุดมุ่งหมาย เพื่อให้เป็นเครื่องบันเทิง และเป็นความรู้เกี่ยวกับกิจการทหารเรือ
เนื้อเรื่อง เล่าถึงการปฏิบัติราชการอย่าสามารถของนายเรือเอก ลอเลสส์ 10 บท

นิทานชวนขัน
ประวัติ  เป็นเรื่องแปลจากภาษาอังกฤษบ้าง และทรงนิพนธ์ขึ้นเองบ้าง
จุดมุ่งหมาย  เพื่อเป็นเครื่องบันเทิง เป็นตัวอย่างของไหวพริบและปฏิภาณที่จะหาทางรอดจากภัย
เนื้อเรื่อง ประกอบด้วยเรื่องต่างๆ ได้แก่เรื่อง กิจการของมารอนมันเคาเส้น , เหาะเหินเดินอากาศ ,ความดื้อของคนเรา ,สมุทรความตามสวัสดิรักษา, ทดลองความไหวพริบยาตัวเบา ตุ๊กกะตุ่น

กลับกันที
ประวัติ   ทรงแปลเรื่องของ ซี.เย. คัตคลิฟฟ์ไฮน์  ปรากฏครั้งแรกในหนังสือสมุทรสาร 2458 ยาวประมาณ 3 ยก
จุดมุ่งหมาย  ให้เป็นเครื่องบันเทิงใจและชี้ให้ผู้อ่านเห็นว่า ความฉลาดจะช่วยให้ได้เปรียบทางสงคราม
เนื้อเรื่อง เป็นเรื่องแสดงความเฉลียวฉลาดของเปลา นายทหารเรือ อังกฤษ ได้ใช้อุบายไหวพริบช่วยตนเองหนีจากเยอรมันกลับบ้านเกิดเมืองนอน

คำวิจารณ์พระราชนิพนธ์หมวดบันเทิงคดี
                  เป็นเรื่องให้ความสนุกสนานและเพลิดเพลิน  ในเรื่องแปลทรงเลือกสรรเรื่องที่เหมาะแก่รสนิยม เหตุการณ์และความเป็นไปของคนไทยในสมัยนั้น  ทรงแทรกคติธรรมสอนใจหลายเรื่อง  ทรงหวังให้เป็นตัวอย่างของความเฉลียวฉลาด  ความมีไหวพริบ  มีตัวอย่างของความกล้าหาญ  การเสียสละ  การปฏิบัติราชการโดยเต็มความสามารถ  ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆพระราชนิพนธ์ส่วนมากเป็นบรรยายโวหาร  มีโวหารเรียบๆเข้าใจง่าย  ความสละสลวยชวนอ่าน

พระราชนิพนธ์ประเภทบทละคร  แบ่งเป็นลักษณะย่อยดังนี้
                  1.  ปลุกใจให้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมให้รักชาติ  บำรุงชาติ  ป้องกันชาติ  ได้แก่  เรื่อง  หัวใจนักรบ  มหาตมะ  โพงพาง
                  2.  แสดงความคิด  ข้อวิจารณ์  หรือให้เป็นคติ  เช่นเรื่อง  กลแตก  เสียสละ  ฉวยอำนาจ  ผู้ร้ายแผลง  แก้แค้น  พอกไม่ขาว  หลวงจำเนียรเดินทาง  เพื่อนตาย  เห็นแก่ลูก
                  3.  เรื่องรักๆใคร่ๆการชิงรักหักสวาท  เชื่อเรื่อง  หาโล่ บ่วงมาร  หมายน้ำบ่อหน้า  หนังสือ  ความดีมีชัย  เสือเฒ่า  วิไลยเลือกคู่  ชิงนาง  เจ้าคุณเจ้าชู้
                  4.  ละครชวนหัว  ชวนขัน  ชวนคิด  และเย้ยหยัน  เช่นเรื่อง  น้อยอินทเสน  จัดการรับเสด็จ ขนมสมน้ำยา  เจ้าขาสารวัด  ตบตาล่ามดี  เกินต้องการ
                  5.  เรื่องแสดงเงื่อนแง่ต่างๆ มีการผูกปม  คลายปมตามศิลปะในการแต่งเรื่อง  ได้แก่  หมิ่นประมาทศาล  ไม่โกรธ  นินทาสโมสร  ท่านรอง   กุศโลบาย  หาเมียให้ผัว  มิตรแท้  หมอจำเป็น  ต้อนรับลูก งดการสมรส  ร.ต.ล. นนทรี    เนตรพระอิศวร ฯลฯ
                  6.  บทละครพูดภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส  ได้แก่เรื่อง  เรียลโกสท์,เอ  เควียร์ เบอร์กลารี,เดอะ  แมน  อิน  กากี , เดอะ  อีลีมินนิส,  เอ  เสตท  แมนสไวท์ ,  เดอะ  เทมมีง  ออฟ อังเคิล  กิเดียน ,  ดิ เอิล  ออฟ  คลาเวอร์เฮาส์ ,  วัน  ซัมเมอร์เดย์  คุปเดตาร์  เลอด์ยุค  เดอ  เรชาเก  ลอมอองกากี
                  พระมหาธีรราชเจ้าทรงใช้บทละครเป็นเครื่องช่วยการศึกษาอบรมจิตใจของพลเมืองเกือบทุกเรื่องมีคติสอนใจให้มีศีลธรรมอันดีงาม  ทรงใช้ถ้อยคำธรรมดา  อ่านเข้าใจง่าย  ความหมายกว้าง  การดำเนินเรื่องไม่สับสน  แสดงลักษณะของตัวละครและผลงานของความประพฤติทรงสามารถนิพนธ์บทละครทั้งเรื่องเศร้าและเรื่องตลกขบขัน

      ตัวอย่างสำนวนภาษาในบทละคร
                  "การตายกลางสนามเป็นความตายอย่างงดงามที่ลูกผู้ชายจะประสบได้" ฉวยอำนาจ
                  "กูรู้จักโลกดี  กูจึงพูดว่าคนโดยมากดูรูปมากกว่าดูใจ  นิยมในเครื่องประดับประดาภานอกมากกว่าสติปัญญาและความสามารถ  ซึ่งเป็นเครื่องประดับภายใน" มหาตมะ
                  "สิ่งที่จะให้ติดอยู่แน่นหนาและทั่วถึงจริงๆ  ก็ต้องทาสามชั้น  เมื่อทาแล้วนานกว่าจะแห้งสนิท แต่เมื่อแห้งแล้วก็ทนนักเทียว  วิชาความรู้ก็เหมือนกัน  เพราะถ้าให้รู้จริง  จักต้องเรียนลึกซึ้ง  และกินเวลานาน"
                  หัวใจนักรบ  ได้รับยกย่องว่าเป็นยอดบทละครพูด  มีเค้าโครงเรื่องแนบเนียนการดำเนินเรื่องไม่สับสน  ปลุกใจให้รักชาติ  รักหน้าที่  บทสนทนาเหมาะสมกับบทบาทกะทัดรัด  เข้าใจง่าย  มีความหมายลึกซึ้ง (ผู้เรียบเรียงไม่สู้จะเห็นด้วย)
                  สรุป  บทพระราชนิพนธ์ของ  ร.6  ไม่เพียงแต่ให้ความบันเทิง  ยังเป็นบ่อเกิดของความรู้นานาประการ  เป็นหลักฐานของการสอบสวนค้นคว้า  มีคุณค่าในแขนงสาขาวิชาสาขาต่างๆ  งานแปลวรรณคดีต่างประเทศเป็นภาษาไทยเป็นพระราชกรณียกิจที่ควรแก่การสรรเสริญอย่างยิ่ง

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
                  ทรงพระนามเดิมว่า  พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร  ทรงเป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่  4  ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม  เมื่อวันที่  21  มิถุนายน  พ.ศ.  2405
                  ทรงเริ่มศึกษาหนังสือไทยในสำนักคุณแสง  และคุณปานราชนิกูล  ในพระบรมมหาราชวัง  ทรงศึกษาภาษาบาลีในสำนักพระยาปริยัติธรรมธาดา (เปี่ยม)  และหลวงธรรมานุวัตจำนง(จุ้ย)  ทรงศึกษาภาษาอังกฤษในโรงเรียนหลวง  มีนายฟรานชิสยอร์ช  แปตเตอรสันเป็นอาจารย์  ทรงศึกษาวิชาทหารในสำนักหลวงรัตรณยุทธ (เล็ก)  และทรงได้รับความรู้รัฐประศาสน์  และโบราณคดี  จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
                  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงได้รับตำแหน่งหน้าที่สำคัญมากมาย  เช่น  เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหาร  ในกรมยุทธนาธิการ  เป็นพลโทราชองครักษ์พิเศษ  ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการ  และกระทรวงมหาดไทย  ทรงเป็นนายกราชบัณฑิตยสภาและประธานกรรมการ  กรรมการ  และที่ปรึกษาในกิจการต่างๆมากมาย  เช่นการตั้งโรงพยาบาล  การตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวง  การตั้งโรงเรียน และการตั้งหอสมุดสำหรับประชาชนเป็นต้น  นอกจากนั้น  พระองค์ยังทรงพระปรีชาญาณในประวัติศาสตร์  และโบราณคดี  เป็นพิเศษ  จนได้รับถวายพระสมัญญาว่าพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย
                  ทางด้านอักษรศาสตร์  กรมพระยาดำรงฯ  ได้ทรงนิพนธ์หนังสือประเภทความเรียงไว้มากมายประมาณถึง 700 เรื่อง  ล้วนแต่มีค่าสำคัญในทางประวัติศาสตร์  โบราณคดี  และทางอักษรศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง  เช่นเรื่อง  ไทยรบพม่า,นิราศนครวัด,นิทานโบราณคดีสาส์นสมเด็จ  (ทรงนิพนธ์ร่วมกับกรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์)  เที่ยวเมืองพม่า , ตำนานอิเหนา ฯลฯ
      สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ  สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่  1  ธันวาคม  พ.ศ.  2486  ด้วยโรคพระทัยพิการ  ซึ่งเริ่มประชวรด้วยโรคนี้มาตั้งแต่เดือนธันวาคม  พ.ศ. 2485

นิราศนครวัด
      ผู้แต่ง  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
      ที่มาของเรื่อง  ทรงนิพนธ์เมื่อครั้งเสด็จประพาสเขมร  เพื่อทอดพระเนตรนครวัต  เมื่อ  พ.ศ.  2467
      ลักษณะการแต่ง  เริ่มเรื่องใช้กลอนเพลงตามแบบนิราศเพียง  26  คำกลอน  แล้วเปลี่ยนมาใช้ร้อยแก้วทั้งหมด
      ความมุ่งหมายที่แต่ง  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงชี้แจงไว้ในคำนำว่า"เดิมข้าพเจ้าแต่งพิมพ์เป็นของฝากญาติและมิตรเมื่อครั้งไปเที่ยวกัมพูชา"
      เนื้อเรื่องย่อ  ทรงกล่าวถึงสาเหตุที่เสด็จไปและผู้ตามเสด็จ  แล้วทรงพรรณนาการเดินทางเรือไปขึ้นบกที่ตำบลแก๊ป  เมืองกำปอดของเขมร  ต่อจากนั้นเสด็จไปพนมเปญ  เที่ยวชมเมือง  เข้าเฝ้าพระเจ้าศรีสวัสดิ์ กษัตริย์เขมร  แล้วกล่าวถึงตำนานของเมืองพนมเปญ  นครวัด  นครธม  ตลอดจนกล่าวถึงขนบประเพณีต่างๆของเขมร  แล้วเดินทางไปไซ่ง่อน  ทรงบันทึกสิ่งที่ได้พบเห็นโดยละเอียด  จนกระทั่งกลับพนมเปญ ทูลลาพระเจ้ากรุงเขมร  แล้วกลับกรุงเทพฯ  ทรงกล่าวขอบใจรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ของฝรั่งเศสที่ถวายความสะดวกในการเสด็จครั้งนี้

      คุณค่าทางวรรณกรรมและความสำคัญ
                  พระนิพนธ์เรื่องนี้แปลกกว่านิราศเรื่องอื่นๆที่แต่งด้วยร้อยแก้ว  แต่ด้วยเหตุที่ผู้นิพนธ์ทรงใช้สำนวนภาษาอ่านง่ายชัดเจน  และสนุกเพลิดเพลินโดยตลอด  การพรรณนาสิ่งที่พบเห็นก็กระทำอย่างละเอียด  จึงทำให้ผู้อ่านเข้าใจและเห็นภาพได้เป็นอย่างดี  ประกอบกับเรื่องนี้ได้แทรกความรู้ทางประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์  โบราณคดี  และวัฒนธรรมของประเทศเขมรไว้เป็นอันมาก  จึงช่วยให้พระนิพนธ์เรื่องนี้มีค่าเด่นชัดมากเรื่องหนึ่ง

พระราชวรวงศ์เธอ  กรมหมื่นพิทยาลงกรณ
                  พระราชวรวงศ์เธอ  กรมหมื่นพิทยาลงกรณ  ทรงเป็นพระราชโอรสในกรมพระราชวังบวรไชยชาญ ในสมัยรัชกาล ที่ 5 และเจ้าจอมมารดาเลี่ยม  มีพระนามเดิมว่า  พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส  ประสูติเมื่อวันที่ 10  มกราคม  พ.ศ.  2419
      ทรงศึกษาขั้นแรกกับพระมารดา  ทรงอ่านเขียนหนังสือได้ตั้งแต่พระชันษา 5 ขวบ จากนั้นก็ไปทรงศึกษาเพิ่มเติมจากโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ  ทรงสอบไล่ได้ชั้นประโยค 2 ทรงฝึกฝนภาษาอังกฤษเพิ่มเติมกับครูภาษาอังกฤษอยู่เสมอ  เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2440 โปรดให้ตามเสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ แต่ประทับศึกษาอยู่ได้ 2 ปีเศษ ไม่ทันจบปริญญาจากหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ก็ต้องเสด็จกลับมาทรงรับราชการต่อใน  พ.ศ. 2442
                  พระราชวรวงศ์เธอ  กรมหมื่นพิทยาลงกรณ  ทรงรับราชการก้าวหน้าเป็นลำดับจนกระทั่งได้รับตำแหน่งสูงถึงสภานายกองคมนตรี  และสภานายกราชบัณฑิตยสถาน  ในขณะเดียวกันก็ได้ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีสำคัญทั้งร้อยแก้ว  และร้อยกรองไว้เป็นจำนวนมาก เช่น พระนลคำฉันท์  กนกนคร  สามกรุงนิทานเวตาล  จดหมายจางวางหร่ำ ฯลฯ ส่วนใหญ่ทรงใช้พระนามแฝงสำหรับบทพระราชนิพนธ์ว่า"น.ม.ส."  ซึ่งย่อมาจากพยางค์ท้ายของพระนามเดิมคือ  "รัสนีแจ่มจรัส"  นั่นเอง นอกจากนี้เคยมีส่วนในการออกหนังสือพิมพ์  ลักวิทยาทวีปัญญา  และทรงเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ประมาญวัน  และประมาญมารค  รวมทั้งทรงพระราชนิพนธ์  เรื่องต่างๆ ไปลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์อื่นๆมากมาย  จนกระทั่งสิ้นพระชนม์  เมื่อวันจันทร์ ที่ 23 กรกฎาคม  พ.ศ. 2488  ด้วยโรคหลอดโลหิตในสมองตัน  รวมพระชนมายุได้  68 ปี 6 เดือน 13 วัน

จดหมายจางวางหร่ำ
            ผู้แต่ง  กรมหมื่นพิทยาลงกรณ
            ที่มาของเรื่อง  กรมหมื่นพิทยาลงกรณทรงนิพนธ์ไปลงพิมพ์เป็นตอนๆในหนังสือทวีปัญญา  เป็นครั้งแรก
            ลักษณะการแต่ง  ใช้ร้อยแก้ว
            เนื้อเรื่องย่อ  จดหมายจางวางหร่ำ  เป็นจดหมายจากจางวางหร่ำ  เศรษฐีแห่งจังหวัดฉะเชิงเทราส่งไปถึงนายสนธิ์ผู้บุตร รวม  7 ฉบับ  ข้อความใจจดหมายฉบับแรก ๆ จางวางหร่ำส่งไปถึงนายสนธิ์ซึ่งเรียนหนังสืออยู่ที่ประเทศอังกฤษให้ขยันหมั่นเรียนและประหยัดการใช้จ่ายให้มาก  จดหมายฉบับหลังๆตักเตือนเรื่องการทำงานและการเลือกคู่ครองเมื่อนายสนธิ์กลับมาทำงานแล้ว

            คุณค่าทางวรรณกรรมและความสำคัญ
            จดหมายจางวางหร่ำ  เป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมกันมากตั้งแต่เริ่มลงพิมพ์ในหนังสือทวีปัญญา  ทั้งนี้เพราะในขณะนั้นคนไทยขั้นสูงกำลังนิยมส่งลูกหลานไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ  กรมหมื่นพิทยาลงกรณซึ่งเข้าใจชีวิตของนักเรียนนอกในสมัยนั้นดีอยู่จึงทรงนิพนธ์เรื่องในทำนองสั่งสอนนักเรียนนอกว่าควรจะประพฤติตนอย่างไร  ประกอบกับกรมหมื่นพิทยาลงกรณทรงใช้ทำนองเขียนแบบใหม่ในรูปจดหมายซึ่งไม่เคยมีใครทำมาก่อน  และทรงใช้โวหารเป็นทำนองทีเล่นที่จริง  แทรกคติที่มีคุณค่าสูงแฝงไว้กับอารมณ์ขัน  เนื้อเรื่องก็ทันสมัย ใช้คำง่ายๆแต่สละสลวยกระทบอารมณ์ของผู้อ่านได้ดี  จึงทำให้เรื่องจกหมายจางวางพร่ำอ่านได้สนุกไม่รู้เบื่อ  ในปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการก็ได้คัดจดหมายบางฉบับมาใช้เป็นแบบเรียนด้วย

นิทานเวตาล
            ผู้แต่ง  กรมหมื่นพิทยาลงกรณ
            ที่มาของเรื่อง  นิทานเวตาล มีเรื่องเดิมอยู่ในนิทานสันสกฤตชื่อเวตาลปัญจวิศติของ         ศิวทาส แต่ น.ม.ส. ทรงได้เค้าเรื่องมาจากฉบับภาษาอังกฤษซึ่ง  เซอร์  ริชาร์ด  พรานซิส  เบอร์ตัน  เรียบเรียงไว้  และนิทานเวตาลฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณนี้ลงพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ  พ.ศ. 2461
            ลักษณะการแต่ง  ใช้ร้อยแก้ว  แต่มีร้อยกรองแทรกอยู่หลายตอน
            เนื้อเรื่องย่อ  ท้าววิกรมาทิตย์  เป็นกษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชาสามารถอย่างยิ่ง  ปกครองกรุงอุชเชนีอย่างมีความสุข  ครั้งหนึ่งโยคีศานติศีลซึ่งโกรธแค้นพระองค์  ได้ปลอมเป็นพ่อค้ามาขอให้ท้าววิกรมาทิตย์ไปนำตัวเวตาลมาให้ตน  ท้าววิกรมาทิตย์ทรงรับคำทั้งๆ  ที่รู้ว่าเป็นอุบายที่จะฆ่าพระองค์  เพราะเวตาลเป็นซากศพที่อยู่บนต้นอโศกในป่าลึก  และมีอิทธิฤทธิ์มากแต่ท้าววิกรมาทิตย์กับพระโอรสก็เพียรนำเวตาลมาจนได้  หลังจากที่พยายามถึง 7 ครั้ง เวตาลจึงยอมให้จับ ในขณะที่วิกรมาทิตย์นำตัวเวตาลไปให้โยคีนั้นเวตาลซึ่งอยู่ในย่ามก็เล่านิทานให้ฟัง แต่ห้ามท้าววิกรมาทิตย์และโอรสตรัสอะไรทั้งสิ้น  มิฉะนั้นเวตาลจะลอยกลับไปอยู่ที่เดิม ต้นฉบับเดิมเวตาลเล่านิทานถึง 25 เรื่อง แต่กรมหมื่นพิทยาลงกรณทรงนิพนธ์ไว้เพียง 10 เรื่อง เมื่อเวตาลเล่านิทานจบลงเรื่องหนึ่งก็ได้ตั้งปัญหาลวงถามจนท้าววิกรมาทิตย์เผลอตัวตอบทุกครั้ง เวตาลก็ลอยกลับไปอยู่ที่ต้นอโศกอย่างเก่า  ท้าววิกรมาทิตย์ก็กลับไปจับตัวมาอีก จนถึงนิทานเรื่องที่  10 ท้าววิกรมาทิตย์ และโอรสจนปัญญาตอบปัญหาไม่ได้จึงนิ่งไว้ ท้าววิกรมาทิตย์จึงนำเวตาลไปให้โยคี  และฆ่าโยคีนั้นเสียแล้วครองกรุงอุชเชนีอย่างมีความสุขสืบมา
คุณค่าทางวรรณกรรมและความสำคัญ
            นิทานเวตาล  เป็นหนังสือที่มีเนื้อเรื่องสนุกสนานอย่างยิ่งสำนวนโวหารไพเราะคมคาย  แทรกอารมณ์ขันตามแบบสำนวน  น.ม.ส.ไว้โดยตลอด  และสิ่งที่ช่วยให้นิทานเวตาลมีค่าเด่นยิ่งกว่านิทานเรื่องอื่นๆ  ก็คือได้แทรกคติโลกไว้มากมายตลอดเรื่องอันเป็นเครื่องส่งเสริมคุณค่าทางปัญญาให้แก่ผู้อ่านอย่างสูงเช่น
            "ผู้ใดมีธรรมในใจ  ผู้นั้นเป็นเจ้าของสิ่งทั้งปวงใจโลก  ธรรมย่อม  จะเป็นเพื่อนไปในทั้งปวง  มีประโยชน์ทั้งในโลกนี้แลโลกหน้า"
            หรือจากตอนหนึ่งที่ว่า
            "ชายใดเข้าเดินในทางแห่งความรัก  ชายนั้นจะรอดชีวิตไปไม่ได้  ถ้ายังไม่สิ้นชีวิตชีวิตก็มิใช่อื่น  คือความทุกข์ที่ยืดออกไปนั่นเอง"