วันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

พระอิศวรเป็นบิดาของหนุมาน

เรื่องนี้ไม่ได้ตั้งใจจะลบหลู่ศักดิ์ศรีทหารกล้าของพระราม (นาม หนุมาน ชาญสมร) ส่วนหนึ่งก็เพราะว่า อันตัวของเราเองก็ชอบใจในหนุมานมาตั้งแต่ยังเด็ก 

แต่เผอิญไปอ่านบทความที่เขียนถึงตำนานการเกิดของรามเกียรติ์ในแต่ละภาค (ท้องถิ่น) เข้า ซึ่งอ่านแล้วก็น่าสนใจดี เลยเอามาฝากกัน

เรื่องนี้อาจจะได้รับอิทธิพลจากเทพปกรณัมอินเดีย ทำให้เกิดมุมมองความคิดว่า เออ อันวิชาการความรู้ หรือเรื่องราวต่างๆ นี้มันก็แตกแขนง งอกกิ่งก้านออกไป ดังนี้ เราจะมามัวยึดถือ ค่าความเชื่อ ความรู้เดิมๆ  ก็คงจะไม่เกิดการพัฒนาแน่แท้ สำหรับเรื่องนี้อ่านเล่นๆ สนุกดี แต่คงไม่เหมาะถ้าจะเอามานั่งเถียงกัน

จากเดิมเคยรู้ เคยเรียนมาว่า พ่อของหนุมาน คือ พระพาย เพราะพระพายเป็นผู้นำเอา อาวุธยุทธโธปกรณ์ของพระศิวะ หรือพระอิศวรมาใส่ปากนางสวาหะ (ที่ถูกสาบให้ยืนขาเดียว มือเกี่ยวกินลม จวบจนเมื่อใดมีลูกถึงจะพ้นจากคำสาป) แต่เมื่อเรียน อ่าน เข้าไปเรื่อยๆ จึงพบว่า แท้จริงแล้ว พระพายเป็นเพียงหมอทำกิ๊ฟให้นางสวาหะ ด้วยอาวุธยุทธโธปกรณ์เหล่านั้นแท้จริงแล้วคือ น้ำเชื้อของพระอิศวรนั่นเอง ดังเรื่องราวย่อๆ ต่อไปนี้


มียักษ์ตนหนึ่งชื่อ เภชนาสูร (นนทก) เป็นข้าของพระอิศวรทำหน้าที่ล้างเท้าเทวดา แต่

เหล่าเทวดาพากันเยาะเย้ยต่าง ๆ นานาเมื่อ เภชนาสูร (นนทก) ล้างเท้าให้นอกจากนั้น ยังชอบที่จะเอาเขกหัว และดึงผมของเภชนาสูร (นนทก) เล่นอยู่เป็นประจำ จนเภชนาสูร (นนทก) กลายเป็นยักษ์หัวล้าน เรื่องนี้ 

เภชนาสูร (นนทก) 



โกรธมากจึงขอนิ้วเพชรจากพระอิศวร แล้วใช้นิ้ว



เพชรชี้เทวดาสิ้นชีพลงมากมาย 






พระอิศวรจึงให้พระนารายณ์ไปปราบเภชนาสูร พระนารายณ์จึงแปลง


เป็นนางฟ้าหลอกล่อ ให้เภชนาสูรรำตาม เภชนาสูรก็รำตามนางด้วยความหลงใหลจนถึงแก่ความตาย 





เพราะเอานิ้วชี้ตัวเองตามท่ารำ



















ก่อนตาย 
เภชนาสูร (นนทก) ร้องบอกพระนารายณ์ไม่แฟร์ เพราะเป็นถึงเทพผู้ยิ่งใหญ่ ยังแอบแปลงร่างมาหลอกตนอีก 





พระนารายณ์โกทธจัด จึงร้องบอก "อ้ายยักษ์ หัวล้าน ให้ชาติหน้าเอ็งไปเกิดเป็น จอมยักษ์ จอมอสูรมีฤทธิ์ มากมายให้ลือลั่นไป 3 โลก เลย ตัวข้า นี่จะอวตาร ไปเกิดเป็นมนุษย์ธรรมดา มีสองมือไปฆ่าเอ็งเอง" นั่นจึงเป็นจุดกำเนิดของ 
รามเกียรติ์ ขึ้นมานั่นเอง...


      ฝ่ายพระนารายณ์แปลงเมื่อปราบเภชนาสูรได้แล้วก็ไปเฝ้าพระอิศวร เมื่อ 
พระอิศวรเห็นนางรำแปลงก็หลงรูปนางจนเกิดตัณหามีน้ำกามไหลออกมา ก็ตามธรรมดา ที่ระดับจอมเทพ แล้ว จะให้เหมือนเทพกิ๊กก๊อก ได้อย่างไร น้ำกามของพระอิศวร หากตกลงน้ำทะเล ก็จะเหือดแห้ง หากตกลงพื้นโลกก็จะลุกเป็นไฟ 





ดังนั้น 
พระนารายณ์จึง
เอาหัตถ์ไป 
รับน้ำกามไว้ แล้วฝากพระพายไปเข้าครรภ์นางสวาหะ นางสวาหะคลอดลูกออกมาชื่อ ศรีหนุมาน


เพื่อเป็นกองสนับสนุนตอนที่พระองค์อวตารลงมาสู้กับ 
เภชนาสูร (นนทก) ในตอนต่อไปนั้นเอง




ดัง กาพย์ฉบัง 16 ตอนกำเนิดหนุมาน มีดังนี้




นารายณ์ขึ้นมาบ่นาน      ทั้งรูปนงคราญ

ไปสำนักอิศวรรา


พระอิศวรเห็นรูปฉายา      เกิดความตัณหา
พินทุก์ตกช้านาน

นารายณ์จึงมีโองการ      พินทุภูบาล
จักมาให้สูญเสียดาย

พระหัตถ์มารับโดยหมาย      ฝากแต่พระพาย
ให้เข้าในครรภ์เทวี

สวาหะอยู่จอมคีรี      พินทุอิศวรรี
ให้เข้าในครรภ์กัลยา
(รามเกียรติ์วัดควนเกย : 189)





นางสวาหะแนะนำให้หนุมานไปหาพาลีและสุครีพ หนุมานถามชื่อพ่อของตน นางสวาหะบอกว่า ใครสามารถมองเห็นมงกุฎ กุณฑลในกายหนุมานได้คนนั้นคือบิดา




กล่าวถึงพระรามได้ตามนางสีดาจนพบพระยาครุฑ จึงได้ทราบข่าวนาง
พร้อมทั้งได้แหวนของนางที่พระยาครุฑมอบให้ พระรามเดินทางไปพบพระพรหมฤๅษี พระฤๅษีจึง
ชุบนางงามถวายพระรามคนหนึ่ง พระรามได้มอบกำไลให้นางเป็นที่ระลึก

พระราม และพระลักษณ์ เดินทางไปถึงต้นไทรใหญ่ได้พบกับหนุมาน
หนุมานคิดว่าพระรามเป็นบิดาจึงถวายตัวแก่พระราม


ประวัติรามเกียรติ์ฉบับนี้มาจากทางภาคใต้ วัดควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยนางพรรณี รัตนวิโรจน์ นิสิตวิชาเอกภาษาไทย ปีการศึกษา 2520 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา เป็นผู้นำมอบให้ศูนย์ส่งเสริมภาษา และวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา

ลักษณะต้นฉบับ เป็นสมุดข่อยประเภท “บุดขาว” ต้นฉบับไม่สมบูรณ์ ตอนต้น
และตอนท้ายขาดหายไป ข้อความบางตอนลบเลือนไม่สามารถอ่านได้ ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง และสมัยที่แต่ง


ลักษณะของเนื้อเรื่องใกล้เคียงกับรามเกียรติ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมาก ต่างกันใน
บางเหตุการณ์ เช่น ในฉบับวัดควนเกยมีการกล่าวถึงตำราไปลงกา ในขณะที่รามเกียรติ์
พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมิได้กล่าวไว้


นอกจากนั้นยังมีชื่อตัวละคร
ที่แตกต่างกัน เช่น นนทุก เป็น เภชนาสูร นางสวาหะ เป็น นางแก่นจันทน์ เป็นต้น

http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/snamcn/Phatchalin_Jeennoon/Chapter2.pdf
*** ขออภัยที่ไม่สามารถระบุลิงค์เจ้าของภาพได้

1 ความคิดเห็น: