วันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

โอม मंगलाचरण के शब्द สัญลักษณ์แห่งศาสนาพราหมณ์

ในบทสวดมนต์ของเทพทุกองค์ในศาสนาพราหมณ์ จะขึ้นต้นด้วยคำว่า "โอม..."
และในรูปวาดมหาเทพเกือบทุกรูป จะปรากฏเครื่องหมาย "โอม" อยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งในภาพ ซึ่งคำว่า โอม นี้เป็นหัวใจหลักของศาสนาเลยทีเดียว!!

โอม...เป็นพยางค์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นคำที่ถูกเอ่ยถี่ที่สุด ในการสวดมนต์ทุกบทของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

คำว่า โอม มีลักษณะดังที่เห็นในรูป สังเกตุได้จากลักษณะเด่น คือ
- มีเครื่องหมายคล้ายเลข 3 นำหน้า
- มีเครื่องหมายคล้าย ง. งู ต่อท้าย
- มีถ้วยและหยดน้ำ (เครื่องหมายจุดพินทุ) อยู่ด้านบน



อักขระ โอม เกิดจากการเรียกพระนามของพระตรีมูรติทั้ง 3 รวมกันเป็นคำเดียว ซึ่งแยกได้ดังนี้
อะ - มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระศิวะ (อะ)
อุ - มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระวิษณุ (อุ)
มะ - มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระพรหมมะ (มะ)

อะ อุ มะ....เมื่ออ่านออกเสียงให้ต่อเนื่องกัน จึงเกิดเป็นคำว่า "โอม" หมายถึงการเรียกขานพระนามของ 3 มหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ ในหนังสือบางเล่ม จะสลับความหมายไปมา บ้างก็ว่า อะ คือพระวิษณุ บ้างก็ว่า มะ คือพระศิวะ สลับไป สลับมา แต่ละเล่มก็เลยเขียนไม่เหมือนกันเลย ขอผู้อ่านได้โปรดจำให้ขึ้นใจ จะได้ไม่สับสนนะครับ



คำว่า โอม ยังสามารถแยกออกเป็นคำๆ ซึ่งมีที่มาโดยการเปล่งเสียงแต่ละคำของมหาเทพได้อีกดังนี้
1. ตัว อะ - ออกจากพระพักตร์ทางทิศเหนือของมหาเทพ
2. ตัว อุ - ออกจากพระพักตร์ทางทิศตะวันตกของมหาเทพ
3. ตัว มะ - ออกจากพระพักตร์ทางทิศใต้ของมหาเทพ
4. ตัว . (พินทุ) - ออกจากพระพักตร์ทางทิศตะวันออกของมหาเทพ
5. เสียง นาท (เสียงที่มนุษย์ไม่สามารถได้ยินและเข้าใจได้) - ออกจากกลางพระพักตร์ของมหาเทพ



เมื่อท่านผู้ศรัทธาเดินผ่านเทวาลัยพระพิฆเนศวร หรือมหาเทพองค์ใดๆ ควรพนมมือขึ้นเพื่อทำความเคารพ และให้เอ่ยคำว่า "โอม..." สั้นๆเพียงคำเดียวในกรณีที่จำบทสวดเทพองค์นั้นๆไม่ได้ และไม่ใช่เอ่ยคำว่า "สาธุ" นะครับ ต้องเป็นคำว่า "โอม" เท่านั้น จะสวดมนต์ จะขอพร จะกราบ หรือกระทำสิ่งใดก็ตามแต่ ให้เอ่ยคำว่า "โอม" เสมอ

ฉะนั้นนับแต่นี้ไป หากท่านได้พบเห็นเทวรูปพระพิฆเนศ หรือเทพองค์อื่นของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ประดิษฐานอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม ให้เอ่ยคำว่า"โอม" แทนคำว่า "สาธุ" ก็จะถูกต้องตามหลักปฏิบัติมากกว่าครับ



สำหรับการ กล่าวถึงการนำมาใช้อ้างอิงภายในศาสนาพุทธคือ ทางพุทธเลียนมาเป็นพระรัตนตรัย ดังนี้
       = อรหํ (พระพุทธเจ้า)
      อุ = อุตฺตมธมฺม (พระธรรมอันสูงสุด)
      = มหาสงฆ์
         นับถือเป็นคำศักดิ์สิทธิ์ คำขึ้นต้นของการกล่าวสวดมนตร์         



มีความเห็นจากบางท่านกล่าวว่า 



   " ยายเคยบอกอย่างนี้ค่ะ  นะ เมตตา โม กรุณา พุทธ ปราณี  ธะ ยินดี  ยะ เอ็นดู
เป็นคาถาที่บอกให้ลูกหลานท่องเอาไว้ในใจยามที่เราจะไปพบหาผู้หลักผู้ใหญ่
เพื่อขอความกรุณาให้ท่านช่วยเหลืออะไรสักอย่างหนึ่ง    ฟังดูเหมือนงมงาย
โตขึ้นจึงได้เห็นว่าผู้ใหญ่ท่านสอนให้รู้จักทำจิตใจให้สงบลดความตื่นเต้นต่างๆ
นั่นเองเมื่อจิตใจสงบความนอบน้อมก็มีตามมา  การพูดคุยกับผู้ใหญ่ก็รู้จัก
สำรวมผลการเจรจาคงเป็นไปในทางที่ดี    หรือแม้นไม่ประสบผลสำเร็จ
ก็ไม่มีเรื่องระคายหูระคายตาระคายใจกลับกันไปทั้งสองฝ่าย    ส่วนคำแปล
ตรงๆจากตำราไม่เคยค้นหาเหมือนกันค่ะ    เพิ่งจะทราบว่าเขาเรียกคาถาอะไร
ก็จากที่นี่     ต้องกลับไปถามยายดูบ้าง     ...  ขอบคุณค่ะ...(ผู้กล่าว: คาถา)"

และ อีกท่าน"
         มะ......เมตตา
         อะ......อวิหิงสา
         อุ.......อุเบกขา


เป็นคาถา แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี  และมหาเสน่ห์  เพราะ มีเมตตา ไม่เบียดเบียน ไม่พยาบาท  หนักแน่น ไม่โน้มเอียง  จึงไม่มีศัตรู ย่อมไม่มีใครมาทำร้าย จึงแคล้วคลาดนั่นเอง ไปที่ไหนก็มีคนรัก เป็นเมตตามหานิยมนักแล (ผู้กล่าว: อุทกาภัสสร์)"



http://www.siamganesh.com/ganeshaum.html
http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/010523.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น