วันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เกี่ยวกับพราหมณ์, ฮินดู และพุทธ


ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ก็คือศาสนาเดียวกันนั่นเอง การที่มีชื่อเรียกควบคู่กันไป 2 ชื่อ คือ “พราหมณ์-ฮินดู” เพราะผู้ให้กำเนิด ศาสนานี้ ในตอนแรกเริ่มเรียกตัวเองว่า ”พราหมณ์” ต่อมาศาสนาได้เสื่อมความนิยมลงระยะหนึ่งเนื่องจากอิทธิพลของศาสนาพุทธ จนมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 ศังกราจารย์ได้ปฏิรูปศาสนาโดยแต่งคัมภีร์ปุราณะลดความสำคัญของศาสนาพุทธ และนำหลักปฏิบัติรวมทั้งหลักธรรมของศาสนาพุทธบางส่วนมาใช้และฟื้นฟูปรับปรุงศาสนาพราหมณ์เป็นให้เป็นศาสนาฮินดู โดยคำว่า “ฮินดู” เป็นคำที่ใช้เรียกชาวอารยันที่อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในลุ่มแม่น้ำสินธุ และเป็นคำที่ใช้เรียกลูกผสมของชาวอารยันกับชาวพื้นเมืองในชมพูทวีป และชนพื้นเมืองนี้ได้พัฒนาศาสนาพราหมณ์โดยการเพิ่มเติมเทพเจ้าท้องถิ่นดั้งเดิมลงไป เนื่องจากเวลานั้นสังคมอินเดีย แตกแยกอย่างมากเนื่องจากอิทธิพลของพุทธศาสนา
ในประเทศอินเดียที่มีลักษณะเป็นกึ่งพหุเทวนิยม คือนิยมนับถือเทวดา ทำให้ทางตอนเหนือนับถือพระศิวซึ่งเป็นเทพแห่งภูเขาหิมาลัย ทางตอนใต้ชาวประมงนับถือวิษณุซึ่งเป็นเทพที่ให้ฝนและพายุ ชาวป่านับถือพระนิรุทธ และตอนกลางนับถือพระพิฆเนตร คนอินเดียเวลานั้นเริ่มไม่นับถือศาสนาพราหมณ์เป็นจำนวนมากขึ้น เมื่อต้องการรวมชาติ จึงรวมเทพเจ้าแต่ละท้องถิ่นเป็นหนึ่งเดียวกันกับศาสนาพราหมณ์ แลัวเรียกศาสนาของใหม่นี้ว่า “ศาสนาฮินดู” เพราะฉะนั้นศาสนาพราหมณ์จึงมีอีก ชื่อในศาสนาใหม่ว่า “ฮินดู” จนถึงปัจจุบันนี้
พระพุทธศาสนาก็เกิดขึ้นท่ามกลางสังคมพราหมณ์ แม้แต่พระพุทธเจ้าและพุทธสาวกสมัยแรกๆ ก็เคยนับถือลัทธิพราหมณ์หรือเคยเกี่ยวข้องกับวรรณะพราหมณ์มาก่อน และในนิทานชาดก และเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาพุทธและพระพุทธเจ้า ก็มักจะมีพราหมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงกล่าวได้ว่า ศาสนาพุทธและพราหมณ์ จึงมีอิทธิพลต่อกันและกัน
ในศาสนาพราหมณ์ คำว่า พราหมณ์ หมายถึง คนในวรรณะที่สูงที่สุดของสังคมอินเดีย มีหน้าที่สอนความรู้เกี่ยวกับพระเวทและทำหน้าที่ติดต่อเทพเจ้า ผู้ที่เป็นพราหมณ์เป็นโดยกำเนิด คือบุตรของพราหมณ์ก็จะมีสถานภาพเป็นพราหมณ์ด้วย

http://th.wikipedia.org/wiki/ศาสนาพราหมณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น